• มะรุม: โปรตีนพืชทางเลือกสำหรับผู้สูงอายุ

  • Moringa oleifera: Alternative protein for elderly

  • วารสารวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร

  • Journal of Food Research and Product Development

  • ต.ค.-ธ.ค. 2565

  • 2821-9813 (online)

  • 2565

  • ซาฟียะห์ สะอะ

  • ปีที่ 52 ฉบับที่ 4 หน้า 27-35

  • ้https://kuojs.lib.ku.ac.th/index.php/JFRPD

  • ไทย

  • F60-ชีวเคมีของพืช

  • S30-โรคขาดสารอาหาร

  • S20-สารอาหาร-สรีระ

  • มะรุม;พืชสมุนไพร;องค์ประกอบทางเคมี;สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ;ตัวเสริมภูมิคุ้มกัน;ผู้สูงอายุ;การบำบัดโรค;ทุพโภชนาการ;คุณค่าทางโภชนาการ;โปรตีนทางเลือก;โปรตีนพืช;โปรตีนไฮโดรไลเซต

  • Moringa oleifera;Moringaceae;Drug plants;Chemical composition;Boost immunity;Elderly;Therapy;Malnutrition;Nutritive value;Alternative protein;Plant-based protein;Hydrolyzed proteins

  • การเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมต่อสุขภาพเป็นเรื่องที่จำเป็น โดยเฉพาะผู้สูงอายุซึ่งเป็นวัยที่ต้องการพลังงานและสารอาหารแตกต่างจากวัยทำงานหรือผู้ที่มีสุขภาพร่างกายปกติ เนื่องจากประสิทธิภาพการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกายที่ลดลง จึงจำเป็นต้องมีความเข้าใจในเรื่องอาหารและโภชนาการเป็นอย่างดี ความต้องการสารอาหารโดยเฉพาะโปรตีน ซึ่งเป็นสารอาหารหลักที่มีความสำคัญต่อผู้สูงอายุมากที่จะช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ปกติ และยังเป็นสารอาหารที่จะช่วยให้กล้ามเนื้อและกระดูกมีความแข็งแรง โดยทั่วไปแหล่งโปรตีนมักได้จากเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ถือได้ว่าเป็นแหล่งโปรตีนคุณภาพดี แต่อย่างไรก็ตามมีรายงานว่าการบริโภคโปรตีนจากเนื้อสัตว์อาจเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดมะเร็งลำไส้ เนื่องจากโปรตีนจากเนื้อสัตว์มีไขมันและโฮโมซิสเตอีนสูง ซึ่งจะเหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบในร่างกายได้ ดังนั้นแหล่งโปรตีนจากพืชจึงเป็นทางเลือกใหม่ เพราะมีพืชบางชนิดมีโปรตีนอยู่ไม่น้อยและให้แคลอรีต่ำ เช่น มะรุมเป็นหนึ่งในพืชที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงโดยเฉพาะโปรตีน โดยพบว่า ในใบมะรุมมีโปรตีนสูงกว่านมสดถึง 2 เท่า และยังมีกรดอะมิโนจำเป็นที่สำคัญหลายชนิดที่จำเป็นต่อร่างกาย ในบางประเทศจึงมีการส่งเสริมให้นำมะรุมมารับประทานเพื่อเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เพื่อป้องกันและรักษาภาวะทุพโภชนาการ จึงเหมาะที่จะนำมาใช้เป็นแหล่งโปรตีนสำหรับผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นวัยที่จำเป็นต้องได้รับโปรตีนในปริมาณที่เพียงพอเพื่อป้องกันหรือลดการเจ็บป่วย

  • [1] ซาฟียะห์ สะอะ (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร ฝ่ายโภชนาการและสุขภาพ)

  • [1] Safiah Saah (Kasetsart University, Bangkok (Thailand). Institute of Food Research and Product Development. Department of Nutrition and Health)

578 436

  Export

  ค้นเพิ่มเติม

ซาฟียะห์ สะอะ. (2565). มะรุม: โปรตีนพืชทางเลือกสำหรับผู้สูงอายุ.  วารสารวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร, 52 (4) ,27-35


ซาฟียะห์ สะอะ. "มะรุม: โปรตีนพืชทางเลือกสำหรับผู้สูงอายุ" วารสารวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร, 52, 2565, 27-35.

ซาฟียะห์ สะอะ. (2565). มะรุม: โปรตีนพืชทางเลือกสำหรับผู้สูงอายุ.  วารสารวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร, 52 (4) ,27-35