Creative Commons License
  • ความเหมาะสมของดินในการสร้างสระน้ำในไร่นา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย

  • Soil suitability assessment for farm ponds in north eastern part of Thailand

  • เรื่องเต็มการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 45: สาขาสถาปัตยกรรมศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ สาขาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

  • Proceedings of 45th Kasetsart University Annual Conference: Architecture and Engineering and Natural Resources and Environment

  • 45

  • สาขาทรัพยากรธรรมชาติ

  • 2550

  • สมปอง นิลพันธ์

  • 978-974-537-999-2

  • มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
    สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา
    กระทรวงศึกษาธิการ
    กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
    กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
    กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
    สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
    สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย

  • การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 45

  • กรุงเทพฯ

  • 30 ม.ค. - 2 ก.พ. 2550

  • กรุงเทพฯ

  • หน้า 643-650

  • 902 หน้า

  • ไทย

  • Thai National AGRIS Centre, Office of The University Library Kasetsart University, P.O. BOX 1084 Kasetsart Chatuchak, Bangkok 10903, Thailand

  • P31-การสำรวจดิน

  • ดิน;ความเหมาะสมของที่ดิน;การวางแผนการใช้ที่ดิน;การเก็บกักน้ำ;ความเสี่ยง;น้ำที่มีเกลือ;การระบายน้ำ

  • Soil;Land suitability;Land use planning;Water storage;Risk;Saline water;Drainage

  • ดิน;การสร้างสระน้ำ;ไร่นา;การจัดทำแผนที่;การเก็บกักน้ำ;ความเสี่ยง;น้ำเค็ม;การระบายน้ำ;ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

  • จากการศึกษาความซึมน้ำของกลุ่มชุดดินจำนวน 37 กลุ่ม 45 ชุดดิน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยรวบรวมข้อมูลการทดสอบในสนามด้วยวิธี Open-End-Test สามารถสรุปตามชั้นขนาดอนุภาคดินโดยดินบริเวณที่ลุ่มความซึมน้ำของดินพิจารณาที่ความลึก 1-2 เมตร เหนือระดับน้ำใต้ดิน ส่วนที่ดอนที่ความลึก 1-2 และ 3-4 เมตร เหนือระดับน้ำใต้ดิน สำหรับพื้นที่ลุ่มพบว่าดินเกือบทั้งหมดมีความซึมน้ำต่ำถึงปานกลาง ดินที่มีความเหมาะสมดีในการเก็บกักน้ำคือพวกดินเหนียวละเอียดมาก ดินเหนียวละเอียด ดินทรายแป้งละเอียด และดินเหนียวปนกรวดลูกรัง เหมาะสมปานกลางคือพวกดินร่วนละเอียด ร่วนหยาบและดินทราย ส่วนดินบนพื้นที่ดอน พบว่ามีเป็นส่วนน้อยที่มีความเหมาะสมดีในการเก็บกักน้ำ เนื่องจากดินมีการระบายน้ำดี ยกเว้นชุดดินลพบุรี (กลุ่มชุดดินที่ 28) ซึ่งเนื้อดินเป็นพวกดินเหนียวละเอียดมากและเป็นดินเหนียวแน่นทึบ ส่วนความเหมาะสมปานกลางได้แก่พวกดินทรายแป้งละเอียดและพวกดินเหนียวปนกรวดลูกรัง นอกจากนั้นเป็นชุดดินที่ไม่ค่อยเหมาะสมถึงไม่เหมาะสมเนื่องจากเป็นพวกที่มีอนุภาคหยาบ เช่น ทราย กรวด หิน หรือลูกรังปะปน หรือแม้แต่บางชุดดินที่เป็นพวกดินเหนียว เช่น ชุดดินเลย วังไฮ จัตุรัส ปากช่อง โชคชัย สมอทอด ก็เก็บกักน้ำได้ไม่ดี เพราะเป็นดินเหนียวไม่ทึบน้ำรวมทั้งสภาพพื้นที่ค่อนข้างสูง และบางชุดดินมีเศษหินอยู่ในชั้นดินตอนล่าง ในการจัดทำแผนที่ความเหมาะสมของดินในการเก็บกักน้ำและความเสี่ยงต่อการเป็นน้ำเค็มสำหรับสร้างสระน้ำในไร่นา ได้ใช้เทคนิคการซ้อนทับ (Overlay) แผนที่ความเหมาะสมของดินในการเก็บกักน้ำ กับแผนที่ความเสี่ยงต่อการเป็นน้ำเค็ม ผลการศึกษาพบว่า ดินที่เหมาะสมดีและไม่เสี่ยง มีเนื้อที่ ร้อยละ 4.44 เหมาะสมดีแต่เสี่ยง ร้อยละ 9.96 เหมาะสมปานกลางและไม่เสี่ยง ร้อยละ 13.76 เหมาะสมปานกลางแต่เสี่ยง ร้อยละ 17.58 ไม่ค่อยเหมาะสม ร้อยละ 33.96 ไม่เหมาะสม ร้อยละ 9.46 และพื้นที่เบ็ดเตล็ดอื่นๆ ร้อยละ 10.84 ของพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

  • Permeability of 45 soil series within 37 soil groups in North Eastern Part of Thailand were studied by open end technique to assess their suitability for farm ponds at 1-2 m depth over ground water level for lowland and 1-2 and 3-4 m for upland. It was concluded that: very fine - fine clayey, fine silty and clayey skeletal particle size class lowland soils were suitable for farm pond due to their moderate to slow permeability. Only Lopburi soil series (massive, fine clayey particle size class) on upland was suitable for farm pond while fine loamy and clayey skeletal particle size class soils were moderately suitable and coarse particle size class or skeletal soils and some no-massived clayey soils i.e. Loei, Wang Hi, Chatturat, Pak Chong, Chok Chai and Samotod series were marginally to unsuitable for farm pond. Soil suitability and risk to saline water for farm pond of the areas were mapped by overlay technique. It was found that the suitable and no-risk, suitable but risk, moderate and no-risk, moderate but risk, marginal, unsuitable and miscellaneous areas cover an area of about 4.44, 9.96, 13.76, 17.58, 33.96, 9.46 and 10.84 percent of the entire NE area respectively.

  • [1] สมปอง นิลพันธ์ (กรมพัฒนาที่ดิน สำนักสำรวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน ส่วนวิจัยและวินิจฉัยคุณภาพดิน)

  • [1] Sompong Nilpunt (Department of Land Development, Bangkok (Thailand). Office of Soil Survey and Land Use Planning. Research and Soil Interpretation Section)

171 365

ไฟล์ดิจิทัล

Export

  ค้นเพิ่มเติม

สมปอง นิลพันธ์. (2550). ความเหมาะสมของดินในการสร้างสระน้ำในไร่นา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
           กรุงเทพฯ:
           มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา
กระทรวงศึกษาธิการ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
.


สมปอง นิลพันธ์. "ความเหมาะสมของดินในการสร้างสระน้ำในไร่นา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย".  กรุงเทพฯ:
           มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา
กระทรวงศึกษาธิการ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
.
           2550.

สมปอง นิลพันธ์. (2550). ความเหมาะสมของดินในการสร้างสระน้ำในไร่นา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
           กรุงเทพฯ:
           มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา
กระทรวงศึกษาธิการ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
.