-
เงาะป่า: วรรณคดีสัญลักษณ์แห่งรัชสมัย
-
Ngoa Paa: A representative work of the reign
-
เรื่องเต็มการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 42: สาขาศึกษาศาสตร์ สาขาสังคมศาสตร์ สาขามนุษยศาสตร์ สาขาเศรษฐศาสตร์ สาขาบริหารธุรกิจ สาขาคหกรรมศาสตร์
-
Proceedings of 42nd Kasetsart University Annual Conference: Education, Social Sciences, Humanities, Economics, Business Administration, Home Economics
-
42
-
สาขามนุษยศาสตร์
-
2547
-
974-537-434-2
-
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์;สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา;กระทรวงศึกษาธิการ;กระทรวงเกษตรและสหกรณ์;กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี;กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม;กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร;สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ;สำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย
-
การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 42
-
กรุงเทพฯ
-
3-6 ก.พ. 2547
-
กรุงเทพฯ
-
หน้า 427-435
-
484 หน้า
-
ไทย
-
Thai National AGRIS Centre, Office of The University Library Kasetsart University, P.O. BOX 1084 Kasetsart Chatuchak, Bangkok 10903, Thailand
-
วรรณคดี;เงาะป่า;พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว;บทละคร;บทพระราชนิพนธ์;การวิเคราะห์
-
NGOA PAA;REPRESENTATIVE WORK;REIGN;KING RAMA THE FIFTH;PLAY;ANALYSIS
-
งานวิจัยเรื่องนี้มีจุดประสงค์จะศึกษาวิเคราะห์ บทละครเรื่องเงาะป่า ซึ่งเป็นบทพระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อแสดงให้เห็นว่าเป็นวรรณคดีสัญลักษณ์แห่งรัชสมัยผลของการวิจัยสรุปได้ว่าบทละครเรื่องเงาะป่าเป็นวรรณคดีสัญลักษณ์แห่งรัชสมัยเพราะมีลักษณะดังต่อไปนี้คือ ประการแรก บทละครเรื่องนี้เกิดขึ้นในรัชสมัยที่ความเหลื่อมล้ำแห่งความเป็นมนุษย์ได้ถูกขจัดไปจากสังคมไทยด้วยพระราชบัญญัติเลิกไพร่ทาส ทุกคนในแผ่นดินไทยมีความเท่าเทียมกันในความเป็นมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นชาวเมืองหรือชาวป่า ประการที่ 2 บทละครเรื่องนี้มีลักษณะผสมผสานระหว่างลักษณะรูปแบบของวรรณคดีแบบเก่าของไทยและเนื้อหาของวรรณคดีแบบใหม่ ที่ได้รับอิทธิพลมาจากตะวันตก ซึ่งสอดคล้องกับลักษณะสังคมในรัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นรัชสมัยแห่งการอนุรักษ์และพัฒนา ประการที่ 3 บทละครเรื่องนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ของเงาะซาไก จึงนับว่าเป็นวรรณคดีเกี่ยวกับชนกลุ่มน้อยเรื่องแรกที่แต่งขึ้นโดยพระมหากษัตริยไทยผู้ทรงเป็นผู้บุกเบิกและผู้นําทางด้านมานุษยวิทยาและชาติพันธุ์วิทยา และประการสุดท้าย บทละครเรื่องนี้มีแก่นเรื่องหรือแนวคิดสําคัญเกี่ยวกับ ความรัก ซึ่งสอดคล้องกับพระราชสมัญญา สมเด็จพระปิยมหาราช ในพระมหากษัตริย์ผู้ทรงพระราชนิพนธ์ผู้ วิจัยได้เสนอผลการวิจัยโดยแบ่งออกเป็น 4 บท คือ บทที่ 1 บทนํา บทที่ 2 พระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว บทที่ 3 การวิเคราะห์พระราชนิพนธ์ บทละครเรื่องเงาะป่า และบทที่ 4 บทสรุป นอกจากนี้ยังมีภาคผนวกซึ่งเป็นความรู้เสริมแก่ผู้อ่านบทละครเรื่องเงาะป่าไว้ด้วย
-
[1] ยุพร แสงทักษิณ (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ ภาควิชาวรรณคดี)
-
[1] Yuporn Sangtaksin (Kasetsart Univ., Bangkok (Thailand). Faculty of Humanities. Dept. of Literature)
ยุพร แสงทักษิณ. (2547). เงาะป่า: วรรณคดีสัญลักษณ์แห่งรัชสมัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา. กระทรวงศึกษาธิการ. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. สำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย
.
ยุพร แสงทักษิณ. "เงาะป่า: วรรณคดีสัญลักษณ์แห่งรัชสมัย". กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา. กระทรวงศึกษาธิการ. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. สำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย
. 2547.
ยุพร แสงทักษิณ. (2547). เงาะป่า: วรรณคดีสัญลักษณ์แห่งรัชสมัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา. กระทรวงศึกษาธิการ. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. สำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย
.