Creative Commons License
  • การศึกษาการใช้พยาธิจากหอยเดื่อในการป้องกันกำจัดหอยเชอรี่

  • Study on the control of golden apple snails Pomacea canaliculata (Orbigny) by using nematode Rhabditis from Hemiplecta distincta

  • การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 39 สาขาสัตว์ สาขาสัตวแพทยศาสตร์ 5-7 กุมภาพันธ์ 2544

  • Proceedings of the 39th Kasetsart University Annual Conference: Animals, Veterinary Medicine

  • 39

  • สาขาสัตว์

  • 2544

  • วิยะดา สีหบุตร

  • 974-553-927-9

  • มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
    กระทรวงศึกษาธิการ
    กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
    กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
    ทบวงมหาวิทยาลัย

  • การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 39

  • กรุงเทพฯ

  • 5-7 ก.พ. 2544

  • กรุงเทพฯ

  • หน้า 11-17

  • 601 หน้า

  • ไทย

  • Thai National AGRIS Centre, Office of The University Library Kasetsart University, P.O. BOX 1084 Kasetsart Chatuchak, Bangkok 10903, Thailand

  • H10-ศัตรูพืช

  • POMACEA CANALICULATA;RHABDITIS;PEST CONTROL;OVIPOSITION

  • หอยเชอรี่;หอยเดื่อ;พยาธิ;การป้องกันกำจัด;การวางไข่

  • เนื่องจาก Rhabditis เป็นพยาธิที่พบในลำไส้ของหอยเดื่อ ซึ่งมันสามารถทำลายการพัฒนาของไข่หอยเชอรี่ได้ ดังนั้นจึงได้นำมาทดลองกับหอยเชอรี่ ได้วางแผนทำการทดลองทั้งหมด 5 การทดลอง การทดลองที่ 1 ให้หอยเชอรี่และหอยเดื่ออยู่ในถังเลี้ยงเดียวกัน ในระยะเวลา 3 เดือนของการทดลอง พบว่าหอยเชอรี่ไม่วางไข่เลย การทดลองที่ 2 ให้ผักสดผสมกับเนื้อของหอยเดื่อบด ในระยะ 3 เดือนของการทดลอง ไข่ฟักตัว 40 เปอร์เซ็นต์ ไม่ฟักตัว 60 เปอร์เซ็นต์ การทดลองที่ 3 ให้หอยเชอรี่เพศผู้และเพศเมียจับคู่กัน ถังละ 1 คู่ ให้เหยื่อซึ่งเป็นผักที่ลอยน้ำได้และมีพยาธิสอดไส้อยู่ เป็นเวลา 5 วัน ติดตามการวางไข่เป็นระยะเวลามากกว่า 1 เดือน มีหอยเพียง 20 เปอร์เซ็นต์ ที่มีการวางไข่ และไข่ไม่ฟักตัว การทดลองที่ 4 นำหอยเพศเมียที่เคยเลี้ยงรวมกับหอยเพศผู้ นำมาแยกเลี้ยงเดี่ยว ให้เหยื่อ เช่นเดียวกับการทดลองที่ 3 เป็นเวลา 5 วัน ติดตามการวางไข่เป็นระยะเวลามากกว่า 1 เดือน จะมีหอยเพียง 10 เปอร์เซ็นต์ ที่วางไข่และฟักตัวเพียง 3 เปอร์เซ็นต์ การทดลองที่ 5 นำหอยเชอรี่เพศผู้และเพศเมียเลี้ยงรวมกันในตู้กระจกใหญ่ ให้เหยื่อลอยน้ำได้เป็นเวลา 5 วัน หอยกินเหยื่อหมดทุกวัน ติดตามการวางไข่เป็นเวลา 3 เดือน พบว่าหอยไม่วางไข่ 77 เปอร์เซ็นต์ ส่วนไข่ที่วางมีการฟักตัว 0.5-20 เปอร์เซ็นต์ หอยที่ได้รับพยาธิจะให้ปริมาณไข่ต่อกองลดลง และไข่ใช้เวลาในการฟักตัวมากกว่า 14 วัน ซึ่งไข่ของหอยโดยทั่วไปใช้เวลาฟักตัว 7-10 วัน ในส่วนของไข่ที่ไม่ฟักตัว พบว่ามีของเหลวเป็นวุ้นอยู่ภายในไม่มีตัวอ่อน การทดลองในสภาพธรรมชาติ ใช้บริเวณแหล่งน้ำที่หอยเชอรี่อยู่กันหนาแน่น ให้เหยื่อที่ลอยน้ำได้เป็นเวลา 10 วัน หอยกินเหยื่อหมดทุกวัน พบว่าไข่มีการฟักตัว 40-50 เปอร์เซ็นต์ และพบไข่บางกองที่ไม่ฟักตัวเลย

  • Rhabditis is the intestinal parasite of land snails Hemiplecta distincta. It can destroy the developing eggs of golden apple snails Pomacea canaliculata. In these experiments, five treatments were assigned for the golden apple snails infestation by Rhabditis. The first treatment, Hemiplecta and Pomacea were kept in the same container for three months. Pomacea did not lay any eggs. The second treatment, the golden apple snails were fed with baits for one month (vegetable mixed with Rhabditis). The percentage of egg - hatching was about 40 percent of total laying eggs. The third treatment, the golden apple snails were divided into twenty groups, each group consists of one female and one male. All groups were fed with floating baits for five days (floating vegetable mixed with Rhabditis). Over a month period, the percentage of egg - laying of golden apple snails was 20 percent. The fourth treatment, the indivldual female snail was kept in the pot and fed with floating baits. Over a month period, the percentage of egg - laying of these snails was 10 percent. The fifth treatment, the experimental snails were fed with floating baits, about three months period egg laying of these snails was inhibited 77 percent. The percentage of egg - hatching was 0.5-20 percent. In the fields, the snails were fed with floating baits for ten days. The eggs were collected everyday. The percentage of unhatched eggs was about 40-50 and some clutches failured to develop.

  • [1] วิยะดา สีหบุตร (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชาสัตววิทยา)

  • [1] Viyada Seehabutr (Kasetsart University, Bangkok (Thailand). Faculty of Science. Department of Zoology)

444 313

ไฟล์ดิจิทัล

Export

  ค้นเพิ่มเติม

วิยะดา สีหบุตร. (2544). การศึกษาการใช้พยาธิจากหอยเดื่อในการป้องกันกำจัดหอยเชอรี่.  กรุงเทพฯ:
           มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
กระทรวงศึกษาธิการ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
ทบวงมหาวิทยาลัย
.


วิยะดา สีหบุตร. "การศึกษาการใช้พยาธิจากหอยเดื่อในการป้องกันกำจัดหอยเชอรี่".  กรุงเทพฯ:
           มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
กระทรวงศึกษาธิการ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
ทบวงมหาวิทยาลัย
.
           2544.

วิยะดา สีหบุตร. (2544). การศึกษาการใช้พยาธิจากหอยเดื่อในการป้องกันกำจัดหอยเชอรี่.  กรุงเทพฯ:
           มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
กระทรวงศึกษาธิการ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
ทบวงมหาวิทยาลัย
.