Creative Commons License
  • วงชีวิตของเหลือบ ทาบานัส รูบิดัส

  • Life cycle of Tabanus rubidus

  • การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 38 สาขาสัตว์ และสาขาสัตวแพทยศาสตร์ 1-4 กุมภาพันธ์ 2543

  • Proceedings of the 38th Kasetsart University Annual Conference: Animals and Veterinary Medicine

  • 38

  • สาขาสัตว์

  • 2543

  • ธวัชชัย กลิ่นศรี
    ไพฑูรย์ เล็กสวัสดิ์

  • 974-553-783-7

  • มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
    กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
    กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
    ทบวงมหาวิทยาลัย

  • การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 38

  • กรุงเทพฯ

  • 1-4 ก.พ. 2543

  • กรุงเทพฯ

  • หน้า 11-21

  • 498 หน้า

  • ไทย

  • Thai National AGRIS Centre, Office of The University Library Kasetsart University, P.O. BOX 1084 Kasetsart Chatuchak, Bangkok 10903, Thailand

  • L72-ศัตรูสัตว์

  • LIVESTOCK;TABANUS;LIFE CYCLE

  • ปศุสัตว์;เหลือบ;ทาบานัส รูบิดัส;ชีวประวัติ;วงจรชีวิต

  • เหลือบทาบานัส รูบิดัส เป็นแมลงที่เพศเมียนำความเสียหายมาสู่การปศุสัตว์และสัตว์เลี้ยง โค กระบือ ก่อให้เกิดความรำคาญ สูญเสียเลือด และเป็นพาหะหรือตัวนำโรคทางเลือดโดยผ่านทางบาดแผลบางชนิด การศึกษาวงชีวิตเหลือบทาบานัส รูบิดัส โดยสำรวจไข่เหลือบที่อยู่ในสภาพธรรมชาติที่มีการเลี้ยงปศุสัตว์ ช่วงฤดูฝนระหว่างเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม 2540 แล้วนำมาฟักเลี้ยงในห้องปฏิบัติการจนได้เป็นตัวเต็มวัย เพื่อศึกษาวงชีวิตและลักษณะที่สำคัญบางประการ พบว่าไข่เหลือบมีลักษณะทรงกระบอกหัวท้ายเรียว มีขนาดกว้าง 0.35 มม. ยาว 0.9 มม. วางเรียงซ้อนกัน 6-7 ชั้นรวมกันเป็นกลุ่มไข่เฉลี่ย 337.5+-61.7 ฟอง/กลุ่ม อยู่ใต้วัตถุที่อยู่เหนือแหล่งน้ำ ระยะไข่ใช้เวลาเฉลี่ย 4.5+-1.5 วัน อัตราการฟักเป็นตัวหนอนร้อยละ 29.77 ตัวหนอนเป็นแบบเวอร์มิฟอร์ม (Vermiform) หลังจากนั้นจึงเจริญเติบโตอยู่ในน้ำ ตัวหนอนมี 5 วัย แต่ละวัยใช้เวลา 2.5 ชั่วโมง และ 64.8, 22.3, 19.5, 16 วันตามลำดับ รวมระยะตัวหนอนใช้เวลาเฉลี่ย 134.5+-7.06 วัน ตัวหนอนโตเต็มที่เฉลี่ยกว้าง 4.3 มม. ยาว 29.0 มม. จึงเข้าดักแด้เป็นแบบออบเท็ก (Obtect) โดยฝังตัวลงในดินลึกประมาณ 2 ซม. ขนาดดักแด้ กว้าง 4.02 มม. ยาว 19.52 มม. ระยะดักแด้ใช้เวลาเฉลี่ย 11.5+-1.05 วัน ตัวเต็มวัยพบระบาดและทำความเสียแก่ปศุสัตว์มากที่สุดในฤดูฝน รองลงมาในฤดูร้อน และน้อยที่สุดในฤดูหนาว โดยออกหากินในวันอากาศ แจ่มใสช่วงเวลา 08.00-10.00 น. มากที่สุดและเลือกกัดกินเลือดบนสัตว์อาศัยบริเวณทีมีความดันเลือดสูงๆ เคลื่อนไหวน้อย ผิวหนังบริเวณนั้นอ่อนนุ่ม หรือบริเวณที่ปัดหางไม่ถึง ได้แก่ส่วนที่อยู่ใต้ท้องลงไป จากผลการศึกษามีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการควบคุมจำนวนเหลือบให้น้อยลง เพื่อลดความเสียหายด้านปศุสัตว์ ควรสำรวจและทำลายกลุ่มไข่เหลือบทุก 2-3 วันซึ่งเป็นวิธีที่ดีและประหยัดที่สุด

  • Females of horse fly Tabanus rubidus is a harmful to livestock and domestic animal, cattle. It causes a nuisance, blood lose and is a vector or carriers of some blood disease by way of wound. Life cycle and some importance characteristic of Tabanus rubidus were stuudied in livestock area in rainy season during September-July 1997. Egg nature of Tabanus rubidus hatched and studied in laboratory up to adult. It was cylindrical with pointed end, 0.35 mm wide and 0.9 mm long, with an averaage of 337.5+-61.7 egg/mass and 6-7 layer under the surface material to over the water hole. The average egg period was 4.5+-1.5 days with hatching rate of 29.77 percent. The larva was vemiform type and grew in water. It had 5 instars. Each of the instars was 2.5 hours and 64.8, 22.3, 19.5, 16 days respectively, total of average larva stage period was 134.5+-7.06 days. The maximum size of larva grew 4.3 mm wide and 29.0 mm long. The pupa was obtect type and embedding 2 cm in the soil, 4.02 mm wide and 19.52 mm long in size. Average period of pupa was 11.5+-1.05 days. The highest spread infestation of adult was found in the rainy season, less in the dry summer and minimal in the winter. Mostly feeding adult females was during 08.00-10.00 am on the clear sunny day by blood sucking at the location under the abdominal wall of host because of maximum blood pressure, minimal move, soft skin, with out any flutter from tail. The findings suggested that the best method to control the number of horse fly in order to reduced livestock lose should be survey and destroy eggg mass of horse fly every 2-3 days.

  • [1] ธวัชชัย กลิ่นศรี (กรมปศุสัตว์ กองสัตวรักษ์)
    [2] ไพฑูรย์ เล็กสวัสดิ์ (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชาชีววิทยา)

  • [1] Tawatchai Klinsri (Department of Livestock Development, Bangkok (Thailand). Div. of Veterinary Service)
    [2] Paitoon Leksawasdi (Chiang Mai University, Chiang Mai (Thailand). Faculty of Science. Department of Biology)

389 367

ไฟล์ดิจิทัล

Export

  ค้นเพิ่มเติม

ธวัชชัย กลิ่นศรี และ ไพฑูรย์ เล็กสวัสดิ์. (2543). วงชีวิตของเหลือบ ทาบานัส รูบิดัส.  กรุงเทพฯ:
           มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงวิทยาศาสตร์
           เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
ทบวงมหาวิทยาลัย
.


ธวัชชัย กลิ่นศรี และ ไพฑูรย์ เล็กสวัสดิ์. "วงชีวิตของเหลือบ ทาบานัส รูบิดัส".  กรุงเทพฯ:
           มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงวิทยาศาสตร์
           เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
ทบวงมหาวิทยาลัย
. 2543.

ธวัชชัย กลิ่นศรี และ ไพฑูรย์ เล็กสวัสดิ์. (2543). วงชีวิตของเหลือบ ทาบานัส รูบิดัส.  กรุงเทพฯ:
           มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงวิทยาศาสตร์
           เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
ทบวงมหาวิทยาลัย
.