-
การวิเคราะห์ภาพในการหาเสียงเลือกตั้ง ปี พ.ศ. 2554 ผ่านเว็บไซต์เฟซบุ๊กดอทคอม
-
Picture analysis of 2011 election campaign via Facebook.com
-
เรื่องเต็มการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 50: สาขาศึกษาศาสตร์, สาขาเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ, สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
-
Proceedings of 50th Kasetsart University Annual Conference: Education, Economics and Business Administration, Humanities and Social Sciences
-
50
-
สาขามนุษยศาสตร์
-
2555
-
978-616-7522-94-4
-
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์;สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา;กระทรวงศึกษาธิการ;กระทรวงเกษตรและสหกรณ์;กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี;กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม;กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร;สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ;สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
-
การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 50
-
กรุงเทพฯ
-
31 ม.ค.-2 ก.พ. 2555
-
กรุงเทพฯ
-
หน้า 354-361
-
437 หน้า
-
ไทย
-
สำนักหอสมุด ม.เกษตรศาสตร์
-
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร;อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ;เครือข่ายสังคมออนไลน์;การหาเสียงเลือกตั้ง;เฟซบุ๊ก;การวิเคราะห์ภาพ;แนวคิดสัญญวิทยา;แนวคิดการสื่อสารทางการเมือง;พ.ศ. 2554
-
Yingluck Shinawatra;Abhisit Vajjajiva;Online socail network;Election campaign;Facebook;Website;Semiology;Comunication;Political communication;Picture analysis;2011
-
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเนื้อหาในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง ผ่านรูปภาพบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในช่วงระยะเวลาของการหาเสียงเลือกตั้ง ปี พ.ศ. 2554 โดยงานวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพที่ใช้แนวคิดสัญญวิทยาและแนวคิดการสื่อสารทางการเมืองเป็นกรอบในการวิเคราะห์ความหมายที่ปรากฏบนภาพเว็บไซต์เฟซบุ๊กดอทคอมเพื่อแสวงหาความหมายเชิงสัญญะ และกลยุทธ์ของนักการเมืองในการเลือกใช้สารในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง ปี พ.ศ. 2554 ผลการศึกษาพบว่าในช่วงหาเสียงเลือกตั้ง เว็บไซต์เฟซบุ๊กดอทคอมของ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีการใช้ภาพเป็นส่วนหนึ่งของการสื่อสารทางการเมืองเพื่อจัดกิจกรรมรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งและสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักการเมืองและกลุ่มคนบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ ที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองเดียวกันได้อย่างทันต่อสถานการณ์และต่อเนื่อง มีการสร้างเนื้อหาในการหาเสียงเลือกตั้งที่มีความหมายเชิงสัญญะผ่านภาพที่เป็นความหมายโดยตรงและความหมายโดยนัยที่คล้ายคลึงและแตกต่างกัน โดยในเนื้อหาเชิงสัญญะที่มีความหมายโดยตรง เน้นการรายงานภาพรวมของการทำกิจกรรมของนักการเมืองที่เกิดขึ้นในระยะเวลาหาเสียงเลือกตั้ง ส่วนเนื้อหาเชิงสัญญะที่มีความหมายโดยนัย มีการการใช้สีเพื่อสร้างการจดจำต่อสัญลักษณ์ขององค์กรการเมือง กลุ่มคน รวมถึงการจัดวางองค์ประกอบของภาพเพื่อสร้างอัตลักษณ์ความเป็นผู้นำของนักการเมืองด้วย
-
[1] นงลักษณ์ เกตุบุตร (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ ภาควิชานิเทศศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์)
[2] พรทิพย์ เย็นจะบก (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ ภาควิชานิเทศศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์)
-
[1] Nonglak Ketboot (Kasetsart University, Bangkok (Thailand). Faculty of Humanities. Department of Communication Arts and Information Science)
[2] Porntip Yenjabok (Kasetsart University, Bangkok (Thailand). Faculty of Humanities. Department of Communication Arts and Information Science)
นงลักษณ์ เกตุบุตร และ พรทิพย์ เย็นจะบก. (2555). การวิเคราะห์ภาพในการหาเสียงเลือกตั้ง ปี พ.ศ. 2554
ผ่านเว็บไซต์เฟซบุ๊กดอทคอม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.
กระทรวงศึกษาธิการ. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
.
นงลักษณ์ เกตุบุตร และ พรทิพย์ เย็นจะบก. "การวิเคราะห์ภาพในการหาเสียงเลือกตั้ง ปี พ.ศ. 2554
ผ่านเว็บไซต์เฟซบุ๊กดอทคอม". กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.
กระทรวงศึกษาธิการ. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
. 2555.
นงลักษณ์ เกตุบุตร และ พรทิพย์ เย็นจะบก. (2555). การวิเคราะห์ภาพในการหาเสียงเลือกตั้ง ปี พ.ศ. 2554
ผ่านเว็บไซต์เฟซบุ๊กดอทคอม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.
กระทรวงศึกษาธิการ. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
.