
-
การศึกษาผลของการจัดการดินและพืชที่มีต่อการชะล้างพังทลาย ของดินบนที่สูงในภาคเหนือของประเทศไทย
-
Effect of land and crop management on soil erosion on the highland of northern Thailand
-
การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 33 สาขาประมง วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร ศึกษาศาสตร์ มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ การจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม 30 มกราคม - 1 กุมภาพันธ์ 2538
-
Proceedings of the 33rd Kasetsart University Annual Conference: Fisheries, Science, Engineering, Agro-Industry, Education, Humanities, Social Sciences, Resource and Environmental Management
-
33
-
สาขาทรัพยากรธรรมชาติ
-
2538
-
974-553-223-1
-
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
ทบวงมหาวิทยาลัย
-
การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 33
-
กรุงเทพฯ
-
30 ม.ค.-1 ก.พ. 2538
-
กรุงเทพฯ
-
หน้า 558-568
-
568 หน้า
-
ไทย
-
Thai National AGRIS Centre, Office of The University Library Kasetsart University, P.O. BOX 1084 Kasetsart Chatuchak, Bangkok 10903, Thailand
-
P36-การปรับปรุงดิน
-
F08-ระบบการปลูกพืช
-
LAND;LAND MANAGEMENT;CROP MANAGEMENT;EROSION;CROPPING SYSTEMS;THAILAND
-
ดิน;การอนุรักษ์ดิน;การปลูกพืช;ระบบการปลูกพืช;การสูญเสียดิน;การชะล้างพังทลาย;ผลผลิต
-
ตั้งแต่ปี พ.ศ.2531 เป็นต้นมา ฝ่ายวิชาการ สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 6 ร่วมกับโครงการพัฒนาที่สูงไทย-เยอรมัน โครงการพัฒนาที่สูงไทย-นอรเว และโครงการพัฒนาที่สูงดอยสามหมื่น ได้ทำแปลงทดลองและทดสอบศึกษาเกี่ยวกับการจัดการดิน และการจัดการพืชเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ เพื่อที่จะหารูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เหมาะสมในการรักษาถาวรภาพในการผลิตบนพื้นที่สูง จากผลของการทำแปลงทดลองและแปลงทดสอบในพื้นที่ของเกษตรกร พบว่าวิธีการปลูกพืชไร่สลับหมุนเวียนกับพืชตระกูลถั่วในระหว่างแถบหญ้ารูซี่หรือแถบไม้พุ่มบำรุงดิน (กระถินผสมถั่วมะแฮะ) ให้ผลดีทางด้านการอนุรักษ์ดินและน้ำการใช้แถบหญ้ารูซี่ขนาดกว้าง 0.5, 1.0 และ 2 ม. หรือการใช้แถบไม้พุ่มบำรุงดินที่ปลูกเป็นแถวคู่ และใช้ระยะห่างของแนวแถบตามแนวดิ่ง (V.I.) 1.5 หรือ 3.0 ม วิธีการทั้งหมดให้ผลทางด้านการอนุรักษ์ดินและน้ำไม่แตกต่างกัน ระบบการปลูกพืชสลับและมีการหมุนเวียนกันทุกปีในระหว่างแถบอนุรักษ์ มีส่วนช่วยลดปริมาณการสูญเสียดินและน้ำไหลบ่าได้ดีกว่าการปลูกข้าวไร่ หรือการปลูกข้าวโพดแต่เพียงอย่างเดียว นอกจากนี้ยังพบว่าพืชไร่ที่ปลูกระหว่างแถบไม้พุ่มบำรุงดินมีแนวโน้มให้ผลผลิตสูงกว่าการปลูกระหว่างแถบหญ้า ซึ่งมีผลมาจากการที่ระบบดังกล่าวสามารถปรับปรุงบำรุงดินได้ดีกว่าระบบอื่นๆ ทางด้านของผลตอบแทนทางด้านเศรษฐกิจเบื้องต้นก็พบว่าการปลูกพืชสลับระหว่างแนวไม้พุ่มบำรุงดินจะให้ผลตอบแทนเบื้องต้นสูงกว่าการปลูกพืชสลับในระหว่างแถบหญ้าและแปลงปลูกแบบเกษตรกร การจัดการดินและพืชตามวิธีดังกล่าว นับว่าเป็นวิธีการที่เหมาะสมอันหนึ่ง สำหรับการอนุรักษ์ดินและน้ำบนดินชุดลาดชันเชิงซ้อน (SC) และวิธีการดังกล่าวเป็นวิธีการที่ลงทุนน้อย ไม่ยุ่งยาก สามารถ ปรับปรุงดินและระบบนิเวศน์ในระยะยาวได้ดี จึงสมควรที่จะนำไปเผยแพร่แก่เกษตรกรที่อาศัยอยู่บนพื้นที่สูงได้นำไปปฏิบัติต่อไป
-
During 1988-1993, the Technical Section, Office of Land Development Region 6, Department of Land Development, in association with the Thai-German Highland Development Programme (TG-HDP), Thai-Norway highland Development Project (TN-HDP), Sam muen highland Development Project (SM-HDP) have launched the research projects with emphasis on land and crop management for soil and water conservation on slope complex soils in northern Thailand. The results showed that grass strip and alley cropping signi-ficantly reduced soil loss and run-off Among the treatments tested, the width of 0.5, 1.0 and 2.0 meter of grass strip and alley cropping with 1.5 or 3.0 metres vertical interval were found to constitute a very effective control measure. Soil loss and run-off did not significantly differ among those treatments. In addition, soil loos and run-off from conservation cropping systems in the buffer strips was lower than mono cropping Alley cropping produced grain yield higher than did grass strip cropping and farmers' practice. Moreover, alley cropping gave gross return higher than the other treatments and also produced larger amount of dry matter compared to grass strip cropping and farmers' practice. These practices were found to be appropriate for upland and highland farmers in Nothern Thailand. The improved techniques which provide low input, applicable to farmer, improve soil fertility and environment should be extended to the farmers in the remoted areas.
-
[1] สนั่น เผือกไร่ (กรมพัฒนาที่ดิน สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 6 ฝ่ายวิชาการ)
[2] พิทักษ์ อินทะพันธ์ (กรมพัฒนาที่ดิน สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 6 ฝ่ายวิชาการ)
[3] สวัสดี บุญชี (กรมพัฒนาที่ดิน สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 6 ฝ่ายวิชาการ)
-
[1] Sanan Peukrai (Department of Land Development, Bangkok (Thailand). Office of Land Development Region 6. Techical Section)
[2] Phithag Inthapan (Department of Land Development, Bangkok (Thailand). Office of Land Development Region 6. Techical Section)
[3] Sawatdee Boonchee (Department of Land Development, Bangkok (Thailand). Office of Land Development Region 6. Techical Section)
สนั่น เผือกไร่. (2538). การศึกษาผลของการจัดการดินและพืชที่มีต่อการชะล้างพังทลาย
ของดินบนที่สูงในภาคเหนือของประเทศไทย. กรุงเทพฯ:
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
ทบวงมหาวิทยาลัย
.
สนั่น เผือกไร่. "การศึกษาผลของการจัดการดินและพืชที่มีต่อการชะล้างพังทลาย
ของดินบนที่สูงในภาคเหนือของประเทศไทย". กรุงเทพฯ:
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
ทบวงมหาวิทยาลัย
. 2538.
สนั่น เผือกไร่. (2538). การศึกษาผลของการจัดการดินและพืชที่มีต่อการชะล้างพังทลาย
ของดินบนที่สูงในภาคเหนือของประเทศไทย. กรุงเทพฯ:
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
ทบวงมหาวิทยาลัย
.