• ความรู้ ความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร จังหวัดลพบุรี

  • Knowledge, opinions and participation to performance of farm women group Changwat Lopburi [Thailand]

  • วารสารวิทยาสารเกษตรศาสตร์ สาขาสังคมศาสตร์

  • Kasetsart Journal of Social Sciences

  • ก.ค.-ธ.ค. 2538

  • 0125-8370

  • 2538

  • รัตนวรรณ รุณภัย
    พัฒนา สุขประเสริฐ
    อรวรรณ วงษ์วานิช

  • ปีที่ 16 ฉบับที่ 2 หน้า 146-155

  • http://kasetsartjournal.ku.ac.th/kuj_files/2010/A1009031112048906.pdf

  • ไทย

  • E50-ชนบท

  • ROLE OF WOMEN;FARMERS ASSOCIATIONS;SOCIOECONOMIC ENVIRONMENT;HUMAN BEHAVIOUR;BASIC NEEDS;THAILAND

  • กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร;สมาชิกแม่บ้านเกษตรกร;สภาพเศรษฐกิจและสังคม;ความรู้;ความคิดเห็น;การมีส่วนร่วม;จ.ลพบุรี

  • ลักษณะพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมบางประการ ของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร จังหวัดลพบุรี มีอายุเฉลี่ย 42.88 ปี ส่วนใหญ่แต่งงานแล้ว การศึกษาจบชั้นประถมปีที่ 4 สมาชิกในครอบครัวเฉลี่ย 4.58 คน แรงงานประกอบอาชีพการเกษตร 1-8 คน การใช้พื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ยต่อครัวเรือน 34.80 ไร่ มีรายได้จากอาชีพหลักที่ทำการเกษตรต่อครอบครัวต่อปี 59,307.34 บาท อาชีพรองมีรายได้เฉลี่ยต่อครอบครัวต่อปี 24,020.34 บาท ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อครอบครัวต่อปี 43,722.96 บาท รับฟังข่าวสารที่เกี่ยวข้องทางการเกษตรจากโทรทัศน์และวิทยุบ่อยครั้ง และหนังสือพิมพ์เล็กน้อย ได้รับการฝึกอบรมและข่าวสารการเกษตรจากเจ้าหน้าที่ การเลี้ยงดูบุตรธิดาได้ช่วยกันทั้งสามีและภรรยา เมื่อครอบครัวเจ็บป่วยจะพาไปโรงพยาบาลหรือสถานีอนามัย สมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรมีความต้องการรวมกลุ่มกันทำกิจกรรมเพื่อต้องการรับความรู้ทางการเกษตร เคหกิจเกษตร และใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เพื่อให้มีรายได้เสริมในครอบครัว มีการเข้าร่วมกลุ่มกันทำกิจกรรม ทำให้รู้จักวิธีการทำงานร่วมกัน ทำให้แม่บ้านเกษตรกรทำกิจกรรมทั้งในด้านส่วนบุคคลส่วนย่อย และส่วนรวม ได้เข้าร่วมการทำสาธิต ร่วมพัฒนาท้องถิ่น หรืองานสาธารณประโยชน์ และเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของครอบครัว ตลอดจนช่วยเหลือซึ่งกันและกัน สามารถนำความเจริญมาให้กับท้องถิ่น ชุมชนและสังคมต่อไป ปัญหาหลักในการดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร คือเรื่องเวลาการทำงานกิจกรรมกลุ่ม เนื่องจากสมาชิกจะว่างไม่พร้อมกัน ส่วนในด้านความสามารถคณะกรรมการกลุ่มมีปัญหาน้อย ในด้านความรู้ความชำนาญด้านเคหกิจเกษตร ตลอดจนความพอใจและความสามัคคีของกลุ่มไม่มีปัญหา ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า การดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในจังหวัดลพบุรี ไม่มีปัญหาในด้านความรู้ความคิดเห็น และการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของกลุ่ม

  • For the socio-economic aspects, the members of Lopburi farm women group was 42.88 years in average, mostly married, and completed grade of education. Each family consisted 4.58 members with 1 to 8 man of farm labour, using an average of 34 to 80 rai of farmland. Their main occupation was agriculture. They could earn an average of 59,307.34 baht per family per year and additional 24,020.34 baht per family per year from supplementary occupation; and spent 43,722.96 baht per family per year. They often obtained agricultural information from television and radio and some from newspaper, They were trained and given agricultural information by the government officers. Husband and wife helped each other in raising children. Any sick members would be treated at hospitals or health stations. The farm women group members wanted to organize themselves for certain activities to gain knowledge in agriculture or home economics affairs in order to make use of their leisure time especially to generate more income for family. Group organization enabled them to work together for their own and subgroup benefits as well as for the community they belong to. Those activities included technical demonstration, community development or public services which gradually improved the quality of life and family thus led to the properity of the localities, community and country as a whole. The problem as observed was the availability of their time for group activities. They had less problems concerning capabilities of group committee. They did not have any problem in knowledge and skills in home economic affairs, or satisfaction and unity of the group. Therefore, it could be said that the knowledge, opinion and participation of the members were not obstacles to the group operation.

  • [1] รัตนวรรณ รุณภัย (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะเกษตร ภาควิชาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร)
    [2] พัฒนา สุขประเสริฐ (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม ฝ่ายฝึกอบรม)
    [3] อรวรรณ วงษ์วานิช (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)

  • [1] Rattanawan Roonapai (Kasetsart University, Bangkok (Thailand). Faculty of Agriculture. Department of Agricultural Extension and Communication)
    [2] Orawan Wongwanich (Kasetsart University, Bangkok (Thailand). Kasetsart University Research and Development Institute)

148 119

  ไฟล์ดิจิทัล

  Export

  ค้นเพิ่มเติม

รัตนวรรณ รุณภัย. (2538). ความรู้ ความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร
           จังหวัดลพบุรี
.  วารสารวิทยาสารเกษตรศาสตร์ สาขาสังคมศาสตร์, 16 (2) ,146-155


รัตนวรรณ รุณภัย. "ความรู้ ความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร จังหวัดลพบุรี"
           วารสารวิทยาสารเกษตรศาสตร์ สาขาสังคมศาสตร์, 16, 2538, 146-155.

รัตนวรรณ รุณภัย. (2538). ความรู้ ความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร
           จังหวัดลพบุรี
.  วารสารวิทยาสารเกษตรศาสตร์ สาขาสังคมศาสตร์, 16 (2) ,146-155