• ดอกไม้ในเครื่องสักการะบูชาที่เกี่ยวเนื่องในประเพณีล้านนาไทย กรณีศึกษาจังหวัดเชียงใหม่

  • Ceremony flower related with Lanna custom: Case study in Chiang Mai province

  • วารสารวิทยาสารเกษตรศาสตร์ สาขาสังคมศาสตร์

  • Kasetsart Journal (Social Sciences) (Thailand)

  • ม.ค.-มิ.ย. 2545

  • 0125-8370

  • 2545

  • จารุนันท์ เชาวน์ดี
    ธัญญะ เตชะศีลพิทักษ์

  • ปีที่ 23 ฉบับที่ 1 หน้า 16-26

  • http://kasetsartjournal.ku.ac.th/kuj_files/2008/A080408112528.pdf

  • ไทย

  • E50-ชนบท

  • ไม้ตัดดอก;พฤติกรรมทางวัฒนธรรม;กลุ่มเชื้อชาติ;ประเทศไทย

  • Cut flowers;Cultural behaviour;Ethnic groups;Thailand

  • ดอกไม้;เครื่องสักการะบูชา;ประเพณีล้านนาไทย;พิธีกรรม;ประเพณี;การเลือกใช้ดอกไม้;สี;ความเชื่อ;จ.เชียงใหม่

  • การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อการศึกษาประวัติความเป็นมาของวัตถุประสงค์ในการเลือกใช้ดอกไม้ในเครื่องสักการะที่เกี่ยวเนื่องในประเพณีล้านนาไทย โดยมีขอบเขตการศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่ผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากภาพถ่าย ซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลทุติยภูมิและสัมภาษณ์ด้วยแบบสัมภาษณ์ชนืดมีโครงสร้างกับผู้รู้ในการทำเตรื่องสักการะที่แตกต่างด้วยดอกไม้จำนวน 100 คน และผู้รู้เกี่ยวกับพิธีกรรมและประเพณีต่างๆ จำนวน 42 คน ข้อมูลที่ได้จากกลุ่มตัวอย่างนำสู่การประมวลและจัดหมวดหมู่ พร้อมเสนอด้วยการบรรยายเชิงพรรณา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ การใช้ดอกไม้ในเครื่องสักการะที่เกี่ยวเนื่องในประเพณีล้านนาไทยมีที่มาจากความเชื่อในเรื่องบุญกุศลที่ปฏิบัติแล้วก่อให้เกิดกำลังใจแก่บุคคลและครอบครัวในการดำเนินชีวิต ทั้งยังเป็นการแสดงถึงการมีกตัญญูกตเวทีต่อบรรพชนหรือผู้พระคุณ โดยการแสดงออกผ่านสัญลักษณ์ในการใช้ดอกไม้ในเครื่องสักการะ การเลือกใช้ดอกไม้ในเครื่องสักการะบูชาที่เกี่ยวข้องในประเพณีล้านนาไทย ชาวล้านนาเลือกใช้ดอกไม้ที่หาได้ง่ายในจากท้องถิ่น ออกดอกตามฤดูกาล มีกลิ่นหอม มีชื่อที่เป็นมงคลและมีความหมายคนส่วนใหญ่นิยมใช้ดอกไม้ที่มีสีขาวสีเหลืองและแดงมีเพียงบางประเพณีที่ไม่นิยมใช้ดอกไม้สีแดงจึงหลีกเลี่ยงการใช้ดอกไม้สีแดง เพราะเชื่อว่า สีแดงเป็นสีที่คล้ายระดูของผู้หญิง และถ้าเป็นฤดูกาลที่ต้นไม้ยังไม่ออกดอก ชาวล้านนาจะใช้ใบไม้หรือดอกไม้ซึ่งตากแห้งแทนดอกไม้ที่ใช้ในเครื่องสักการะที่พบ ได้แก่ 1. ดอกกรรณิการ์ 2. ดอกกระดังงา(ดอกสบันงา) 3. ดอกกาหลง(ดอกเสี้ยวดอกขาว) 4.ดอกกุหลาบ 5.ดอกเกี้ยวเกล้า(ดอกไหมพรหม) 6. ดอกแก้ว(ดอกตะไหลแก้ว) 7. ดอกขจร (ดอกสลิด) 8.ดอกจำปา(ดอกจุมปา) 9.ดอกจำปี (ดอกจุมปี) 10.ดอกชมนาด (ดอกอ้มสาย) 11. ดอกช้างเคี่ยน (ดอกเคี่ยน) 12. ดอกซ่อนกลิ่น 13.ดอกดาวเรือง (ดอกคำปู้จู้) 14.ดอกนมแมว 15.ดอกบัว 16.ดอกบัวสาย 17.ดอกบานไม่รู้โรย(ดอกตะล่อม) 18. ดอกบุญนาค(ดอกสารภีดอย) 19.ดอกเบญจมาศ 20. ดอกปีบ (ดอกกาสะลอง) 21.ดอกพวงทอง 22. ดอกพิกุล(ดอกแก้ว) 23.ดอกพุด(ดอกปุ๊ด) 24. ดอกพุดซ้อน(ดอกเก็ดถวา) 25. ดอกพุทธชาด 26.ดอกพุทธรักษา(ดอกบัวละวงศ์) 27.ดอกมหาหงส์(ดอกตาเหิน) 28. ดอกมะลิ(ดอกละว้า) 29.ดอกยี่หุบ(ดอกจี๋หุบ) 30.ดอกรสสุคนธ์(ดอกมะตาด) 31.ดอกราชพฤกษ์(ดอกคูณ ดอกลมแล้ง) 32.ดอกรัก(ดอกป่านเถื่อน) 33.ดอกราชาวดี(ดอกหงสา) 34. ดอกสร้อยทอง 35.ดอกสารภี 36.ดอกหงอนไก่(ดอกด้าย) 37.ดอกหมอไก๋ 38.ดอกหางนกยูง(ดอกซอมพอ) 39.ดอกอูน 40. ดอกเอื้องคำ 41. ดอกเอื้องผึ้ง 42.ดอกเอื้องสมปอย

  • Purpose of this research were to investigate backgrounds and objectives in selecting floral ceremony related to Lanna custom, a case study of Chiang Mai province. Sample consisted of 100 experts who able to decorate the floral ceremony and 42 experts in ceremony and convention. Structural interview and photoestechnics were instruments for collecting data. Data were analyzed by categorizing into groups. Discriptive explanation for result were as follows:- Background for using the floral ceremony related with Lanna convention was getting merit and emerging the will power to family and themselves on the way of life, including the expression to gratefulness for primogenitor or benefactor. Selecting for using floral ceremony related Thai Lanna convention was to seek within local because it was easy to provide, good-smell, good-meaning, auspicious name and emerge as season. While, yellow and red flowers were favorite colors except some subcustom because they believed that red color look like menstruation of female. So, they did not decorte ceremony with red flower. Whenever flowers were not avaiable, leaves and dried flowers were substituted. The following used flowers were: 1.Night jasmine 2.Ilang-ilang 3.Snowy orchid 4.Tree rose 5.Pussy tail 6.Orange jasmine 7.Cowslip creeper 8.Orange champaca 9.White champaka 10.Bread flower 11.Chang-Kien 12.Tuberose 13.Marigold 14.Rauwenhoffia siamensis 15.Sacred lotus 16.Nymphaes lotus 17.Globe amaranth 18.Iron wood 19.Chrysanthemum 20.Cork tree 21.Galphimia 22.Bullet wood 23.Ervatamia coronaria 24.Gardenia 25.Jasmine vine 26.Canna 27.White ginger 28.Arabian jasmine 29.Magnolia coco 30.Tetracera indica 31.Golden shower 32.Giant milk weed 33.White butterfly bush 34.Golden rod 35.Mamme 36.Chinese wool flower 37.Horm-kay 38.Peacock flower 39.Elder 40.Dendrobium chrysotoxum 41.Dendrobium aggregatum 42.Vanda denisoniana.

  • [1] จารุนันท์ เชาวน์ดี (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะมนุษยศาสตร์ ภาควิชามนุษยสัมพันธ์)
    [2] ธัญญะ เตชะศีลพิทักษ์ (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะเกษตร ภาควิชาพืชสวน)

  • [1] Jarunun Chaodee (Chiang Mai Univ., Chiang Mai (Thailand). Faculty of Humanities. Dept. of Human Relations)
    [2] Thunya Taychasinpitak (Kasetsart Univ., Bangkok (Thailand). Faculty of Agriculture. Dept. of Horticulture)

1,579 257

  Export

  ค้นเพิ่มเติม

จารุนันท์ เชาวน์ดี และ ธัญญะ เตชะศีลพิทักษ์. (2545).
           ดอกไม้ในเครื่องสักการะบูชาที่เกี่ยวเนื่องในประเพณีล้านนาไทย กรณีศึกษาจังหวัดเชียงใหม่
           วารสารวิทยาสารเกษตรศาสตร์ สาขาสังคมศาสตร์, 23 (1) ,16-26


จารุนันท์ เชาวน์ดี และ ธัญญะ เตชะศีลพิทักษ์.
           "ดอกไม้ในเครื่องสักการะบูชาที่เกี่ยวเนื่องในประเพณีล้านนาไทย กรณีศึกษาจังหวัดเชียงใหม่"
           วารสารวิทยาสารเกษตรศาสตร์ สาขาสังคมศาสตร์, 23, 2545, 16-26.

จารุนันท์ เชาวน์ดี และ ธัญญะ เตชะศีลพิทักษ์. (2545).
           ดอกไม้ในเครื่องสักการะบูชาที่เกี่ยวเนื่องในประเพณีล้านนาไทย กรณีศึกษาจังหวัดเชียงใหม่
           วารสารวิทยาสารเกษตรศาสตร์ สาขาสังคมศาสตร์, 23 (1) ,16-26