• ปีที่ 19 ฉบับที่ 2 หน้า 123-138

  • ไทย

  • E16-เศรษฐศาสตร์การผลิต

  • L01-การผลิตสัตว์

  • E20-การบริหาร/ธุรกิจเกษตร

  • โคนม;ฟาร์มโคนม;เกษตรกร;การวิเคราะห์ต้นทุน-ผลประโยชน์;ผลิตภาพ;การจัดการ;ประเทศไทย

  • Dairy cattle;Dairy farms;Farmers;Cost benefit analysis;Productivity;Management;Thailand

  • โคนม;ฟาร์มโคนม;เกษตรกร;ประสิทธิภาพการผลิต;ต้นทุน;กำไร;การจัดการ;ภาคเหนือ

  • การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความแตกต่างด้านประสิทธิภาพการผลิตของกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมที่มีลักษณะทางเศรษฐกิจและสังคมต่างกัน ผลการศึกษาในปี พ.ศ. 2539 พบว่า เกษตรกร ตัวอย่างในภาคเหนือมีผลผลิตน้ำนมดิบคิดเฉลี่ยต่อแม่โค 1 ตัวประมาณ 8 กิโลกรัม/ตัว/วัน โดยมีต้นทุนการผลิตคิดรวมต้นทุนผันแปรและต้นทุนคงที่ ทั้งที่เป็นเงินสดและไม่เป็นเงินสด ประมาณ 8.78 บาทต่อกิโลกรัมเมื่อเทียบกับราคาน้ำนมดิบรวมรายได้เบ็ดเตล็ดประมาณ 9.83 บาท/กิโลกรัมแล้ว เกษตรกรจะมีรายได้สุทธิประมาณ 1.10 บาท/กิโลกรัม สำหรับกำไรสุทธิคิดเฉลี่ยต่อฟาร์มประมาณ 17,589 บาท/ปี โดยในแหล่งเลี้ยงโคนมเก่าที่ อำเภอสนกำแพง กิ่งอำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอเมือง อำเภอเบ้านธิ จังหวัดลำพูนและอำเภอบึงสามพัน จังหวัดเพชรบูรณ์ เกษตรกร จะมีกำไรจากการเลี้ยงโคนม ส่วนในอำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ และ อำเภอเทิง กิ่งอำเภอขุนตาล จังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นแหล่งเลี้ยงโคนมใหม่ เกษตรกรจะขาดทุนโดยเฉลี่ยจากการเลี้ยงโคนม ประมาณร้อยละ 58 ของเกษตรกรตัวอย่างผู้เลี้ยงโคนมในภาคเหนือ สามารถมีกำไรและอยู่ได้ โดยฟาร์มขนาดเล็กจะมีประสิทธิภาพในเชิงเทคนิควัดด้วยผลผลิตน้ำนมของแม่โคต่อตัวต่อวันสูงที่สุด ส่วนฟาร์มขนาดกลางมีประสิทธิภาพเชิงเศรษฐกิจวัดด้วยกำไรสุทธิต่อฟาร์มดีที่สุด สำหรับปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพเชิงเทคนิคในเชิงบวกอย่างสำคัญคือ ค่าใช้จ่ายอาหารข้น ค่าใช้จ่ายอาหารหยาบ และคะแนนปฏิบัติซึ่งเป็นตัวแปรที่วัดการจัดการด้านต่าง ๆ ของเกษตรกร ตัวแปรที่มีผลในเชิงลบ ได้แก่ ขนาดฝูงโคทั้งหมด ส่วนตัวแปรที่มีผลทั้งในเชิงบวกและลบได้แก่ ระดับสายเลือดโดยเฉลี่ยของแม่โคที่เกษตรกรเลี้ยง ส่วนตัวแปรที่มีผลต่อประสิทธิภาพเชิงเศรษฐกิจในเชิงบวกที่สำคัญ ได้แก่อัตราการให้นมของแม่โคต่อตัวต่อวัน และขนาดฝูงแม่โคที่เหมาะสม ตัวแปรที่มีผลในเชิงบวกระดับปานกลางคือประสบการณ์เลี้ยง และพื้นที่แปลงหญ้า ตัวแปรที่มีในเชิงลบได้แก่ รายได้นอกฟาร์ม ส่วนตัวแปรอื่น ๆ ได้แก่ ค่าใช้จ่ายอาหารข้น แรงงานครอบครัว และต้นทุนคงที่ มีผลทั้งในเชิงบวกและลบ การใช้ปัจจัยเหล่านี้มากหรือน้อยเกินไปจะทำให้ได้กำไรสุทธิเป็นลบ เกษตรกรควรต้องมีความสามารถในเชิงธุรกิจ สามารถบริหารระดับการใช้ปัจจัยต่าง ๆ ให้เหมาะสมและเกิดประโยชน์เต็มที่ และจะต้องมีจำนวนแม่โคไม่น้อยเกินไป โดยไม่ควรต่ำกว่า 6 ตัวต่อฟาร์ม

  • This study had as its objective to assess the difference in efficiency in dairy farming management among groups of farmers with different socio-economic conditions. The result of this study revealed in 1996, that the average milk yield was 8 kg/cow/day, the average total cost was 8.78 baht/kg, the average price (including miscellaneous income) was 9.83 baht/kg, so that the farmers obtained 1.10 baht/kg of profit. The average profit per household was approximately 17,589 baht/year. Positive profit was enjoyed in amphoe San Kam Phaeng and amphoe Mae On, Chiang Mai Province, amphoe Muang, amphoe Ban Ti, Lamphun Province and amphoe Bueng Sam Pan, Phetchabun Province. On the other hand, in amphoe Mae Ta , Lampang Province, amphoe Muang, Phetchabun Province, amphoe Tueng and amphoe Khun Tan, Chiang Rai Province, farmers suffered from loss from their operations. Approximately 58 percent of dairy farmers in the sampled households in the North were able to be profitable in dairy farming. Small farms were more technically efficient as measured by their highest average milk yield/cow/day. Medium farms were more economically efficient as measured by their highest average profit. The factors positively affected technical efficiency were expenditure on concentrates, expenditure on roughage and performance scores indicating good farm management. Farm size negatively affected technical efficiency. Percent of improved breed increased or decreased technical efficiency depending on different ranges. In terms of economic efficiency, average milk yield/cow/day and appropriate size of milch cows in herd showed strong positive influence. Years in dairy farming and size of pasture land had mild positive influence. Nonfarm income negatively affected economic efficiency. Expenditure on concentrates, farm labor and fixed costs had both positive and negative influence depending on their ranges. Too much or too little use of these factors will yield negative profit. Farmers should have business management skills and should fully utilize inputs. They must have a good size of milch cows, not fewer than 6 per farm.

  • [1] เบญจพรรณ เอกะสิงห์ (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร)
    [2] กุศล ทองงาม (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร)
    [3] บุญล้อม ชีวะอิสระกุล (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะเกษตรศาสตร์ ภาควิชาสัตวศาสตร์)
    [4] บุญเสริม ชีวะอิสระกุล (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะเกษตรศาสตร์ ภาควิชาสัตวศาสตร์)
    [5] สมคิด พรหมมา (กรมปศุสัตว์ ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์เชียงใหม่)

  • [1] Benchaphun Ekasingh (Chiang Mai University, Chiang Mai (Thailand). Faculty of Agriculture. Multiple Cropping Center)
    [2] Kuson Thong-Ngam (Chiang Mai University, Chiang Mai (Thailand). Faculty of Agriculture. Multiple Cropping Center)
    [3] Boonlom Cheva-Isarakul (Chiang Mai University, Chiang Mai (Thailand). Faculty of Agriculture. Department of Animal Science)
    [4] Boonserm Cheva-Isarakul (Chiang Mai University, Chiang Mai (Thailand). Faculty of Agriculture. Department of Animal Science)
    [5] Somkid Promma (Department of Livestock Development, Bangkok (Thailand). Chiang Mai Provincial Livestock Breeding and Research Center)

415 121

  Export

  ค้นเพิ่มเติม

เบญจพรรณ เอกะสิงห์ และคนอื่นๆ. (2541). ประสิทธิภาพการผลิตของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมในภาคเหนือ
           วารสารวิทยาสารเกษตรศาสตร์ สาขาสังคมศาสตร์, 19 (2) ,123-138


เบญจพรรณ เอกะสิงห์ และคนอื่นๆ. "ประสิทธิภาพการผลิตของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมในภาคเหนือ"
           วารสารวิทยาสารเกษตรศาสตร์ สาขาสังคมศาสตร์, 19, 2541, 123-138.

เบญจพรรณ เอกะสิงห์ และคนอื่นๆ. (2541). ประสิทธิภาพการผลิตของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมในภาคเหนือ
           วารสารวิทยาสารเกษตรศาสตร์ สาขาสังคมศาสตร์, 19 (2) ,123-138