• ปีที่ 14 ฉบับที่ 1 หน้า 71-79

  • http://kasetsartjournal.ku.ac.th/kuj_files/2010/A1009021530313593.pdf

  • ไทย

  • E20-การบริหาร/ธุรกิจเกษตร

  • FARMING SYSTEMS;SUSTAINABILITY;CAPITAL;EVALUATION;FARMERS;THAILAND

  • ระบบการทำฟาร์ม;ระดับถาวรภาพ;การประเมิน;เกษตรกร;การสั่งสมทุนการผลิต;จ.กาญจนบุรี อ.ไทรโยค

  • เมื่อพิจารณาในเชิงเศรษฐสังคม อาจกล่าวได้ว่าโอกาสในการสั่งสมทุนในการผลิตของเกษตรกร (ที่ดิน ไร่ นา สวน สัตว์เลี้ยง เครื่องมือ สิ่งก่อสร้างในฟาร์ม และเงินออม) เป็นเครื่องชี้วัดระดับถาวรภาพของระบบการทำฟาร์มของเกษตรกรนั้น ๆ ระยะ 40 ปีที่ผ่านมามีปัจจัยต่าง ๆ ที่ทำให้ฟาร์มพัฒนาไปในระดับที่ต่างกันอย่างเห็นได้ชัดและเป็นปรากฏการณ์สำคัญที่พบทั่วประเทศ ปรากฏการณ์ดังกล่าวจะสังเกตได้ง่าย ในแหล่งที่เป็นเขตบุกเบิก ดังเช่น บริเวณลุ่มน้ำแควน้อยในจังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งเป็นเขตที่โครงการวิจัยเพื่อการพัฒนาระบบเกษตรกรรม มก. (DORAS) ได้เลือกดำเนินการวิจัยตามนัยความคิดข้างต้นในปี 2534 จากการวิเคราะห์ประวัติและกลไกของระบบการผลิตทางการเกษตรในท้องที่ที่ศึกษา ทำให้สามารถจำแนกระบบการผลิตทางเกษตรเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 4 ประเภท คือ 1. ฟาร์มขนาดเล็ก และไม่สามารถพึ่งพาตนเอง 2. ฟาร์มขนาดเล็กและพึ่งพาตนเองได้ 3. ฟาร์มขนาดกลางและอยู่ในช่วงการปรับเปลี่ยนระบบการผลิต 4. ฟาร์มขนาดใหญ่ระดับนายทุน เมื่อวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบระบบการผลิตทางเกษตรประเภทต่าง ๆ เหล่านี้ทำให้สามารถประเมินระดับถาวรภาพของฟาร์มแต่ละประเภท ทั้งในเชิงเศรษฐสังคมและเชิงเทคนิคการผลิตได้ และได้ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยและส่งเสริมที่สอดคล้องกับปัญหาของแต่ละฟาร์มและเหมาะสมแก่กาลเวลาได้ ทั้งนี้เพื่อช่วยให้ฟาร์มขนาดเล็กซึ่งเป็นเกษตรกร ส่วนใหญ่ของท้องที่สามารถพัฒนาตัวเองให้อยู่ในระดับถาวรภาพได้

  • From an economic and social point of view, it can be assumed that the possibility for farmers to accumulate productive capital (land, plantations, domestic animals, farm equipment and saving) on their agricultural production systems (APS) was the indicator for their respective levels of sustainability. For the past fourty years, a very important process of farm differentiation occurred across all provinces throughout the country. It is easier to observe and analyze it in "pioneer fronts" areas like the Maenam Kwae Noi Valley in Kanjanaburi where such research was carried out during 1991. Based on the APS respective functioning patterns and history, a typology of the local farming systems was built and used to assess the socioeconomic as well as agro-technical sustainability of each category of APS. Based on such a comparative analysis of farmers situations, a hierarchy of appropriate key questions and topics for research and extension was also proposed, in order to improve the sustainability of the majority of small-scale production units.

  • [1] ชัชรี นฤทุม (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม)
    [2] ผ่องพรรณ ตรัยมงคลกูล (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์)
    [3] นิตยา เงินประเสริฐศรี (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์)
    [4] นาถ พันธุมนาวิน (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม)
    [5] กิตติ สิมศิริวงษ์ (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม)

  • [1] Chatcharee Naritoom (Kasetsart University, Bangkok (Thailand). Extension and Training Office)
    [2] Pongpan Trimongkolkul (Kasetsart University, Bangkok (Thailand). Faculty of Education)
    [3] Nitaya Ngernprasertsri (Kasetsart University, Bangkok (Thailand). Faculty of Social Sciences)
    [4] Nath Bhanthumnavin (Kasetsart University, Bangkok (Thailand). Extension and Training Office)
    [5] Kitti Simsiriwong (Kasetsart University, Bangkok (Thailand). Extension and Training Office)
    [6] Trebuil, Guy. (Kasetsart University, Bangkok (Thailand). The development Oriented Research on Agrarian system project)

278 151

  ไฟล์ดิจิทัล

  Export

  ค้นเพิ่มเติม

ชัชรี นฤทุม และคนอื่นๆ. (2536). ระดับถาวรภาพของระบบการทำฟาร์มกับการสั่งสมทุนการผลิต:
           การวิเคราะห์จากความแตกต่างของเกษตรกรในอำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี
.  วารสารวิทยาสารเกษตรศาสตร์
           สาขาสังคมศาสตร์, 14 (1) ,71-79


ชัชรี นฤทุม และคนอื่นๆ. "ระดับถาวรภาพของระบบการทำฟาร์มกับการสั่งสมทุนการผลิต:
           การวิเคราะห์จากความแตกต่างของเกษตรกรในอำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี" วารสารวิทยาสารเกษตรศาสตร์
           สาขาสังคมศาสตร์, 14, 2536, 71-79.

ชัชรี นฤทุม และคนอื่นๆ. (2536). ระดับถาวรภาพของระบบการทำฟาร์มกับการสั่งสมทุนการผลิต:
           การวิเคราะห์จากความแตกต่างของเกษตรกรในอำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี
.  วารสารวิทยาสารเกษตรศาสตร์
           สาขาสังคมศาสตร์, 14 (1) ,71-79