• ปีที่ 34 ฉบับที่ 2 หน้า 1-10

  • http://www.tjf.forest.ku.ac.th

  • ไทย

  • L20-นิเวศวิทยาสัตว์

  • นก;ความหลากหลายทางชีวภาพ;ชนิด;ความหนาแน่น;อุทยานแห่งชาติ;ประเทศไทย

  • Birds;Biodiversity;Species;Density;National parks;Thailand

  • นก;ความหลากชนิด;ความชุกชุม;ความหนาแน่น;ความหลากหลาย;อุทยานแห่งชาติแม่ยม;จ.แพร่

  • Birds;Assemblages;Diversity;Abundance;Density;Diversity index;Mae Yom National Park;Phrae province

  • การศึกษาสังคมของนกในอุทยานแห่งชาติแม่ยม จังหวัดแพร่ ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหลากชนิด ความชุกชุม ความหนาแน่น ความหลากหลาย ความสม่ำเสมอ ความคล้ายคลึง และสภาพพื้นที่อยู่อาศัยในรูปแบบ ต่างๆ ของนก โดยได้ดำเนินการระหว่างเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2556 ถึงเดือน มกราคม พ.ศ. 2557 ทำการสำรวจนกด้วย วิธี point count ผลการศึกษาพบว่า พบนกทั้งสิ้น 16 อันดับ 53 วงศ์ 114 สกุล 172 ชนิด เป็นนกประจำถิ่น 134 ชนิด นกอพยพ 33 ชนิด นกอพยพผ่าน 3 ชนิด และนกอพยพมาทำรังวางไข่ 2 ชนิด เส้นทางสำรวจที่มีความหลากชนิดของนกมากที่สุดคือ เส้นทางศึกษาธรรมชาติหล่มด้ง - จุดชมวิวทะเลหมอก สำรวจพบนก 125 ชนิด ความชุกชุมของนก แบ่งออกเป็น 4 ระดับ มีความชุกชุมมาก 35 ชนิด ความชุกชุมปานกลาง 12 ชนิด ความชุกชุมน้อย 38 ชนิด ความชุกชุมน้อยมาก 40 ชนิด ความหนาแน่นของนก มากที่สุด คือ เส้นทางศึกษาธรรมชาติโป่งน้ำร้อน มีค่าเฉลี่ย 53 ตัว/เฮกแตร์ ความหลากหลายของนกในช่วงนอกอพยพมีค่าเท่ากับ 2.21 ช่วงอพยพมีค่าเท่ากับ 2.33 และรวมทั้งปีมีค่าเท่ากับ 2.32 โดยเส้นทางศึกษาธรรมชาติหล่มด้ง - จุดชมวิวทะเลหมอก และ เส้นทางศึกษาธรรมชาติจุดสกัดป่าสนยักษ์ มีค่าความหลากหลายของนกรวมทั้งปีมากที่สุดเท่ากับ 2.24 ความสม่ำเสมอของนก ในช่วงนกอพยพมีค่าเท่ากับ 0.86 ช่วงอพยพ และรวมทั้งปีมีค่าเท่ากัน คือ 0.90 โดย เส้นทางศึกษาธรรมชาติหล่มด้ง - จุดชมวิวทะเลหมอก และ เส้นทางศึกษาธรรมชาติจุดสกัดป่าสนยักษ์ มีค่าความสม่ำเสมอของนกรวมทั้งปีมากที่สุดเท่ากับ 0.87 สภาพพื้นที่อยู่อาศัยแบ่งได้เป็น 4 ชนิดป่า คือป่าเต็งรัง ป่าสนเขา ป่าผสมผลัดใบ และป่าดิบแล้ง ความคล้ายคลึงของนกระหว่างชนิดป่าผสมผลัดใบ และป่าดิบแล้งมีค่ามากที่สุดเท่ากับร้อยละ 75.91 และค่าความคล้ายคลึงของนกระหว่างป่าผสมผลัดใบและป่าสนเขา มีค่าน้อยที่สุดเท่ากับร้อยละ 22.35

  • The objectives of Bird Assemblages at Mae Yom National Park, Phrae Province are 1) to study diversity, abundance density, diversity index, evenness and similarity of birds at Mae Yom National Park 2) to study the utilization of habitats by birds and tourists in Mae Yom National Park. The study was conducted between August 2013 and January 2014. Birds were surveyed by point count method. The results showed that there were 16 orders, 53 families, 114 genera and 172 species of bird were found birds by this study, of which 134 were resident species, 33 species were winter visitors, 3 species were passage migrant and 2 species were breeding visitors. Lom Dong – Viewpoint had the most species diversity with 125 species. According to the four abundance classification levels, there were 35 very abundance species, 12 common species, 38 uncommon species and 40 rare species. The highest density was found at Pong Nam Ron Nature Trail with 53 individuals/ha. The diversity index of the non-migrating season is 2.21 whereas it is 2.33 in the migrating season. The overall year - round diversity index is 2.32. The Lom Dong – Viewpoint and the Pa Son Yak Nature Trail have a highest year - round diversity index of 2.24. The evenness of birds during the non - migrating season is 0.86. The evenness during the migrating season and the year - round are similar, with the index of 0.90. The evenness is highest at Lom Dong – Viewpoint and the Pa Son Yak Nature Trail, both having evenness of 0.87. The similarity of the birds of the whole study area between migrating and non - migrating season is 88.31 percent. The seven routes cover 4 habitat types: the dry dipterocarp forest, the pine forest, the mixed deciduous forest and the dry evergreen forest. The similarity of birds between mixed - deciduous forest and dry evergreen forest is highest, with 75.91 percent, whereas the lowest similarity is found between mixed - deciduous forest and pine forest, 23.08 percent.

  • [1] อานนท์ เชื้อไพบูลย์ (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะวนศาสตร์)
    [2] ประทีป ด้วงแค (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะวนศาสตร์)
    [3] อุทิศ กุฏอินทร์ (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะวนศาสตร์)
    [4] ศุภชัย วรรณพงษ์ (กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช อุทยานแห่งชาติแม่ยม)

  • [1] Arnon Cherpaiboon (Kasetsart University, Bangkok (Thailand). Faculty of Forestry)
    [2] Prateep Duengkae (Kasetsart University, Bangkok (Thailand). Faculty of Forestry)
    [3] Utis Kutintara (Kasetsart University, Bangkok (Thailand). Faculty of Forestry)
    [4] Suppachai Wannapong (Department of National Parks, Wildlife and Plant Conservation, Bangkok (Thailand). Meayom National Park)

318 121
  
 

  Export

  ค้นเพิ่มเติม

อานนท์ เชื้อไพบูลย์ และคนอื่นๆ. (2558). สังคมของนกในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแม่ยม จังหวัดแพร่
           วารสารวนศาสตร์, 34 (2) ,1-10


อานนท์ เชื้อไพบูลย์ และคนอื่นๆ. "สังคมของนกในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแม่ยม จังหวัดแพร่" วารสารวนศาสตร์, 34, 2558, 1-10.

อานนท์ เชื้อไพบูลย์ และคนอื่นๆ. (2558). สังคมของนกในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแม่ยม จังหวัดแพร่
           วารสารวนศาสตร์, 34 (2) ,1-10