• ลักษณะโครงสร้างใบและอัตราการสังเคราะห์แสงของกล้าไม้ประดับยืนต้นบางชนิด

  • Leaf structure and photosynthetic rate of some ornamental seedlings

  • วารสารวนศาสตร์

  • Thai Journal of Forestry

  • ก.ค.-ธ.ค. 2539

  • 0857-1724

  • 2539

  • ธเนศ เสียงสุวรรณ
    ลดาวัลย์ พวงจิตร

  • ปีที่ 15 ฉบับที่ 2 หน้า 118-131

  • ไทย

  • F50-โครงสร้างของพืช

  • F61-ธาตุอาหาร

  • ORNAMENTAL PLANTS;SEEDLINGS;LEAVES;PHOTOSYNTHESIS;STOMATA

  • ไม้ประดับยืนต้น;กล้าไม้;โครงสร้างใบ;อัตราการสังเคราะห์แสง;ปากใบ;ความเข้มแสง

  • การศึกษาลักษณะโครงสร้างของใบ และอัตราการสังเคราะห์แสงของกล้าไม้ประดับยืนต้นครั้งนี้ ได้ทำการศึกษากับกล้าไม้ประดับที่พบในเขตกรุงเทพมหานครจำนวน 6 ชนิด ได้แก่ ประดู่ป่า พิกุล อินทนิลน้ำ ชัยพฤกษ์ มะขาม และไทรใบทอง อายุระหว่าง 12-18 เดือน โดยทำการศึกษาลักษณะโครงสร้างของใบ จำนวน ขนาดและการกระจายของปากใบ ความผันแปรของอัตราการสังเคราะห์แสงในช่วงวันของแต่ละฤดูกาล และการตอบสนองต่อปริมาณความเข้มแสงของกล้าไม้ ผลการศึกษาพบว่า ลักษณะโครงสร้างของใบแตกต่างกันในใบไม้แต่ละชนิด กล้าไม้ส่วนมากมีปากใบเป็นแบบ hypostomatous ยกเว้นมะขามเป็นแบบ amphistomatous จำนวนปากใบต่อพื้นที่มีมากที่สุดในไทรใบทอง และมีน้อยที่สุดในพิกุล ขนาดของปากใบที่วัดตามความยาวของปากใบใหญ่ที่สุดในไทรใบทอง และเล็กที่สุดในมะขาม โดยมีการกระจายของปากใบบนผิวใบแตกต่างกันไปตามชนิดไม้ จากการศึกษาอัตราการสังเคราะห์แสงของกล้าไม้พบว่า การสังเคราะห์แสงสุทธิของกล้าไม้ในช่วงวันมีแนวโน้มคล้ายคลึงกันในกล้าไม้ทุกชนิด อัตราการสังเคราะห์แสงสุทธิในเดือนพฤษภาคมมีค่าสูงกว่าในเดือนธันวาคมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในกล้าไม้เกือบทุกชนิดยกเว้นกล้าไม้ไทรใบทองและพิกุล อัตราการสังเคราะห์แสงสุทธิมีความสัมพันธ์กับปริมาณความเข้มของแสง และมีความเข้มแสงอิ่มตัวที่ระหว่าง 350-650 micro mol/square m/s และความเข้มแสงอิ่มตัวในช่วงเช้าจะสูงกว่าในช่วงบ่าย

  • Studies on leaf structure and photosynthetic rate of ornamental tree seedlings were carried out with 6 ornamental trees species found in Bangkok Metropolitan. The experimental seedlings were 12-18 month-old, including Pterocarpus macrocarpus, Mimusops elengi, Lagerstroemia speciosa, Cassia fistula, Tamarindus indica and Ficus altissiama. Leaf structure, stomatal number, stomatal size and distribution as well as diurnal and seasonal variations of photosynthetic rate and photosyntheic light response were determined. Leaf structure were different among species. Stomata of most species studied were hypostomatic type except Tamarindus indica which showed amphistomatic stomata. Stomatal frequency of Ficus altissiama showed the highest number, and Mimusops elengi showed the lowest. The biggest stomatal size was also found in Ficus altissiama, while Tamarindus indica showed the smallest size of stomata. Stomatal distributions were different among species. Study on photosynthetic rates of seedlings showed that diurnal patterns of net photosynthesis were similar in all species studied. Net photosynthesis measured in May were statistically higher than the rates measured in December for most species except Ficus altissiama and Mimusops elengi. Photosynthesis showed statistically response to light in all species studied. The light saturation points were between 350-650 micro mol/square m/s, and were higher in the morning than in the afternoon.

  • [1] ธเนศ เสียงสุวรรณ (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะวนศาสตร์)
    [2] ลดาวัลย์ พวงจิตร

  • [1] Tanet Sengsuwan (Kasetsart Univ., Bangkok (Thailand). Faculty of Forestry)
    [2] Ladawan Puangchit

226 355
  
 

  Export

  ค้นเพิ่มเติม

ธเนศ เสียงสุวรรณ และ ลดาวัลย์ พวงจิตร. (2539).
           ลักษณะโครงสร้างใบและอัตราการสังเคราะห์แสงของกล้าไม้ประดับยืนต้นบางชนิด.  วารสารวนศาสตร์, 15 (2) ,118-131


ธเนศ เสียงสุวรรณ และ ลดาวัลย์ พวงจิตร.
           "ลักษณะโครงสร้างใบและอัตราการสังเคราะห์แสงของกล้าไม้ประดับยืนต้นบางชนิด" วารสารวนศาสตร์, 15, 2539, 118-131.

ธเนศ เสียงสุวรรณ และ ลดาวัลย์ พวงจิตร. (2539).
           ลักษณะโครงสร้างใบและอัตราการสังเคราะห์แสงของกล้าไม้ประดับยืนต้นบางชนิด.  วารสารวนศาสตร์, 15 (2) ,118-131