• ปีที่ 14 ฉบับที่ 2 หน้า 143-150

  • ไทย

  • K10-วิทยาการป่าไม้

  • P33-เคมี-ฟิสิกส์ดิน

  • RHIZOPHORA;PLANTING;SPACING;SURVIVAL;GROWTH;SOIL CHEMICOPHYSICAL PROPERTIES

  • ไม้โกงกาง;การปลูก;ระยะปลูก;อัตราการรอดตาย;การเจริญเติบโต;คุณสมบัติของดิน;อ่าวคุ้งกระเบน

  • จากการทดลองปลูกไม้โกงกางใบเล็ก (Rhizophora apiculata) และโกงกางใบใหญ่ (R. mucronata) บนหาดเลน บริเวณโครงการศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดจันทบุรี (ที่เส้นรุ้ง 12 องศา 34 ลิปดา เหนือ และเส้นแวง 101 องศา 65 ลิปดา ตะวันออก) ในเดือนพฤษภาคม 2535 โดยใช้ระยะปลูก 1*1 และ 0.5*0.5 เมตร พบว่า เมื่อกล้าไม้อายุประมาณ 3 ปี 3 เดือน (วันที่ 12 สิงหาคม 2538) บนพื้นที่หาดเลนที่มีสภาพดินเป็นเลนปนทราย มีสัดส่วนอนุภาคดินละเอียด (<212 micro m) 56.08 เปอร์เซ็นต์ ค่าเฉลี่ยออกซิเจนละลาย (DO) การนำประจุไฟฟ้า (EC) ความเค็ม (NaCl) และปฏิกิริยาดิน (pH) ที่ระดับความลึก 5 ซม. เป็น 0.69 mg/l 0.42 s/m 0.21 เปอร์เซ็นต์ และ 8.07 ตามลำดับ และที่ระดับ ความลึก 30 ซม. เป็น 1.79 mg/l 0.46 s/m 0.24 เปอร์เซ็นต์ และ 8.25 ตามลำดับ ไม้โกงกางใบใหญ่ มีอัตราการรอดตายและการเจริญเติบโตสูงกว่าไม้โกงกางใบเล็กทั้งสองระยะปลูก ไม้โกงกางใบเล็ก ที่ใช้ระยะปลูก 0.5*0.5 เมตร มีอัตราการรอดตายและการเจริญเติบโตด้านความสูงมากกว่าที่ระยะปลูก 1*1 เมตร ส่วนขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางที่ระดับ 30 เซนติเมตร เหนือพื้นดินไม่ต่างกัน และระยะปลูกทั้งสอง ไม่ส่งผลให้เกิดความแตกต่างของการเจริญเติบโตของไม้โกงกางใบใหญ่แต่อย่างใด

  • In May 1992, seedlings of Rhizophora apiculata and R. mucronata were planted in mud flat area, Khung Krabaen Bay, Chantaburi (12 deg 34 libda N, 101 deg 65 libda E). The spacing of 0.5*0.5 m and 1*1 m were applied for both species. Soil properties, survival rates and growth performances of seedlings were investigated in August 12, 1995. It was found that the mud flat comprised 56.08 percent of soil particle with size less than 212 micro m. Average dissolved oxygen (DO), electrical conductivity (EC), NaCl, and pH of the soils at 5 cm depth were 0.69 mg/l, 0.42 s/m, 0.21 percent, and 8.07 respectively. The values slightly changed at 30 cm depth where average Do, EC. NaCl, and pH of the soils were 1.79 mg/l, 0.46 s/m, 0.24 percent, and 8.25 respectively. Values of survival rate, diameter at 30 cm above ground (D 0.3) and total height (Ht) of R. mucronata in both spacing were remarkable greater than those of R. apiculata. In addition, survival rate and total height of R. apiculata in spacing 0.5*0.5 m were remarkable greater than that in spacing 1*1 m, whereas diameters at 30 cm above ground in both spacing showed no different. Growth of R. mucronata performed without any remarkable influencing from the spacing, but the narrower the spacing, the higher the survival rate was observed.

  • [1] โคมิยามา, อากิระ (กรมป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ ส่วนวิจัยเศรษฐกิจและพัฒนาการจัดการป่าไม้)
    [2] เชิดศักดิ์ ลิ่วลักษณียนาวิน
    [3] วิพักตร์ จินตนา

  • [1] Cherdsak Liewlaksaneeyanawin (Royal Forest Dept., Bangkok (Thailand). Forest Research Office. Forest Management and Economics Research Div.)
    [2] Komiyama, Akira
    [3] Vipak Jintana

323 291
  
 

  Export

  ค้นเพิ่มเติม

โคมิยามา, อากิระ. (2538). การทดลองปลูกไม้โกงกางบนหาดเลน อ่าวคุ้งกระเบน.  วารสารวนศาสตร์, 14 (2) ,143-150


โคมิยามา, อากิระ. "การทดลองปลูกไม้โกงกางบนหาดเลน อ่าวคุ้งกระเบน" วารสารวนศาสตร์, 14, 2538, 143-150.

โคมิยามา, อากิระ. (2538). การทดลองปลูกไม้โกงกางบนหาดเลน อ่าวคุ้งกระเบน.  วารสารวนศาสตร์, 14 (2) ,143-150