• การเจริญเติบโตของกล้าไม้ยางนา (Dipterocarpus alatus Roxb.) ที่ได้รับการปลูกเชื้อราเอคโตไมคอร์ไรซา

  • Kan charoen toepto khong kla-mai yangna (Dipterocarpus alatus Roxb. thi dai-rap kan pluk chua-ra ectomycorrhiza

  • วารสารวนศาสตร์

  • Thai Journal of Forestry (Thailand)

  • ม.ค.-มิ.ย. 2537

  • ISSN 0857-1724

  • 2537

  • ทนุวงศ์ แสงเทียน
    อุทัยวรรณ แสงวณิช

  • ปีที่ 13 ฉบับที่ 1 หน้า 22-28

  • ไทย

  • F62-การเจริญเติบโตของพืช

  • F62-การเจริญเติบโตของพืช

  • DIPTEROCARPUS;MYCORRHIZAE;RUSSULA;SEEDLINGS;GROWTH

  • ยางนา;เชื้อรา;เอคโตโมคอร์ไรซา;เห็ดตะไคล;เห็ดน้ำแห้ง;เห็ดน้ำหมาก;ต้นกล้า;การปลูกเชื้อ;การเจริญเติบโต

  • การทดสอบการเจริญเติบโตของกล้าไม้ยางนาในดินนึ่งฆ่าเชื้อที่ไม่ได้รับการปลูกเชื้อรา และได้รับการปลูกเชื้อราเอคโตไมคอร์ไรซา ด้วยการใช้ชิ้นส่วนของดอกเห็ด 3 ชนิด คือเห็ดตะไคล (Russula aeruginea Lindbl.) เห็ดน้ำแป้ง (R. albida Peck) และเห็ดน้ำหมาก (R. sanguinea Fr.) ในสภาพเรือนเพาะชำ ได้ใช้แผนการทดลองแบบ completely randomized design มีทั้งหมด 4 ทรีตเมนต์ แต่ละทรีตเมนต์ มี 5 ซ้ำ ทำการวัดความสูงและเส้นผ่าศูนย์กลางของลำต้นที่ระดับคอรากของกล้าไม้ทุกๆ เดือน เมื่อกล้าไม้มีอายุครบ 7 เดือน ได้ถูกนำไปอบและชั่งหาน้ำหนักแห้งของส่วนยอด ส่วนราก น้ำหนักแห้งรวม และค่าร้อยละของน้ำหนักแห้งของรากเอคโตไมคอร์ไรซา การทดลองได้ผลว่ากล้าไม้ใน 4 ทรีตเมนต์ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางด้านความสูง เส้นผ่าศูนย์กลางของลำต้นที่ระดับคอราก น้ำหนักแห้งของส่วนยอด ส่วนราก และน้ำหนักแห้งรวม โดยกล้าไม้ที่ได้รับการปลูกเชื้อราด้วยชิ้นส่วนของดอกเห็ดตะไคลมีการเจริญเติบโตในทุกด้านที่กล่าวข้างต้นสูงที่สุด รองลงไปคือกล้าไม้ที่ปลูกเชื้อด้วยเห็ดน้ำหมาก เห็ดน้ำแป้ง และไม่ได้รับการปลูกเชื้อราใดๆ เลย ตามลำดับ แต่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของอัตราส่วนระหว่างน้ำหนักแห้งของส่วนยอดต่อส่วนราก และค่าร้อยละของน้ำหนักแห้งของรากเอคโตไมคอร์ไรซา ในระหว่างทรีตเมนต์ และกล่าวได้ว่าเห็ดตะไคลและเห็ดน้ำหมากมีความเหมาะสมในการเป็นเอคโตไมคอร์ไรซากับกล้าไม้ยางนามากกว่าเห็ดน้ำแป้ง

  • Growth of Dipterocarpus alatus Roxb. seedlings grown in sterilized soil noninoculated and inoculated with chopped fruit bodies of 3 ectomycorrhizal fungi, i.e. Russula aeruginea Lindbl., R. albida Peck. and R. sanguinea Fr. was investigated under nursery condition. The experimental design was completely randomized design with 4 treatments and 5 replications. Height and diameter at root collar of the seedlings were measured monthly. Shoot-, root- and total dry weights and percentages of ectomycorrhizal root dry weight were determined when the seedlings were 7 months old. Results of the experiment revealed that heights, diameters at root collar, shoot-, root- and total dry weights of the seedlings in the treatments were significantly different. The seedlings inoculated with R. aeruginea showed the highest values of all mentioned growth parameters, followed by the seedlings inoculated with R. sanguinea, R. albida and noninoculated controls, respectively. However, there were no significant differences in shoot to root dry weight ratios and percentages of ectomycorrhizal root dry weights in the treatments. R. aeruginea and R. sanguinea were more suitable than R. albida in forming ectomycorrhizae with D. alatus seedlings.

  • [1] ทนุวงศ์ แสงเทียน (กรมป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กลุ่มพัฒนาป่าชายเลนและป่าพรุ)
    [2] อุทัยวรรณ แสงวณิช (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะวนศาสตร์ ภาควิชาชีววิทยาป่าไม้)

  • [1] Tanuwong Sangthian (Royal Forest Dept., Bangkok (Thailand). Forest Research Office)
    [2] Uthaiwan Sangwanit (Kasetsart University, Bangkok (Thailand). Faculty of Forestry. Department of Forest Biology)

236 214
  
 

  Export

  ค้นเพิ่มเติม

ทนุวงศ์ แสงเทียน และ อุทัยวรรณ แสงวณิช. (2537). การเจริญเติบโตของกล้าไม้ยางนา (Dipterocarpus alatus Roxb.)
           ที่ได้รับการปลูกเชื้อราเอคโตไมคอร์ไรซา
.  วารสารวนศาสตร์, 13 (1) ,22-28


ทนุวงศ์ แสงเทียน และ อุทัยวรรณ แสงวณิช. "การเจริญเติบโตของกล้าไม้ยางนา (Dipterocarpus alatus Roxb.)
           ที่ได้รับการปลูกเชื้อราเอคโตไมคอร์ไรซา" วารสารวนศาสตร์, 13, 2537, 22-28.

ทนุวงศ์ แสงเทียน และ อุทัยวรรณ แสงวณิช. (2537). การเจริญเติบโตของกล้าไม้ยางนา (Dipterocarpus alatus Roxb.)
           ที่ได้รับการปลูกเชื้อราเอคโตไมคอร์ไรซา
.  วารสารวนศาสตร์, 13 (1) ,22-28