• ความหลากชนิดของไม้ยืนต้นในป่าเต็งรังที่สะแกราช จ.นครราชสีมา

  • Khwam lak chanit khong mai yunton nai pa tengrang thi Sakaerat Changwat Nakornratchasima II. Kan khat khane chamnuan chanit khong phan mai chak chamnuan tonmai

  • วารสารวนศาสตร์

  • Thai Journal of Forestry (Thailand)

  • ม.ค.-มิ.ย. 2541

  • ISSN 0857-1724

  • 2541

  • พงษ์ศักดิ์ สหุนาฬุ

  • ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 หน้า 26-35

  • ไทย

  • U10-คณิตศาสตร์/สถิติ

  • U10-คณิตศาสตร์/สถิติ

  • DIPTEROCARPACEAE;TREES;BIODIVERSITY;SPECIES;THAILAND

  • ป่าเต็งรัง;ไม้ยืนต้น;สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช;ความหลากชนิด;ดัชนีความหลากชนิด;จ.นครราชสีมา

  • การศึกษานี้ได้ทำการคาดคะเนจำนวนชนิดของพรรณไม้ (E(s)) โดยใช้เทคนิค rarefaction ใน 4 หมู่ไม้ของป่าเต็งรังที่สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา แยกกันและเฉลี่ยจาก 4 หมู่ไม้เปรียบเทียบกับ 1 หมู่ไม้ของป่าดิบแล้งในท้องที่เดียวกันและกับ 2 หมู่ไม้ที่เป็นป่ารุ่น และป่าธรรมชาติดั้งเดิมดอนปู่ตาที่อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ ทั้งนี้ โดยกำหนดให้จำนวนต้นไม้ตัวอย่างมาตรฐานของพรรณไม้ (n) เป็น 10, 30, 50, 100, 300, 500, 700 และมากกว่านี้ขึ้นไป ยกเว้นในหมู่ไม้ที่มีจำนวนต้นไม้น้อยกว่านี้ ได้กำหนดให้มีจำนวนต้นไม้ตามความเหมาะสม ในระหว่างช่วงเวลาของการตรวจนับพรรณไม้ 2 ครั้งในแปลงตัวอย่างถาวร นำจำนวนชนิดของพรรณไม้ที่คาดคะเนได้ (E(s)) ของแต่ละหมู่ไม้ไปหาความสัมพันธ์กับ n และประมาณหาดัชนีความหลากชนิด 2 อย่าง คือ alpha (Fisher) และ H (Shannon-Wiener) การศึกษาพบว่า E(s) จะเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ ในตอนแรก อย่างรวดเร็วในตอนกลาง และเพิ่มขึ้นด้วยอัตราที่ลดลงจนถึงขีดจำกัดเมื่อมีจำนวน n ต่างๆ กันออกไปแล้วแต่หมู่ไม้ ยกเว้นหมู่ไม้ที่มีจำนวนชนิดค่อนข้างน้อย และเป็นป่าที่ถูกรบกวนอยู่เสมอ ตัวแปรทั้งสองค่านี้มีความสัมพันธ์กันในรูปของ logistic, Gompertz, และ power function models ในหมู่ไม้ทั้ง 4 หมู่ไม้ของป่าเต็งรังที่มีไม้เด่นต่างกัน และในหมู่ไม้ที่เป็นป่ารุ่นและป่าเต็งรังดั้งเดิมดอนปู่ตาทั้ง 2 ช่วงเวลา เมื่อเปรียบเทียบกับป่าดิบแล้งซึ่งมีจำนวนชนิดที่คาดคะเนได้เป็นจำนวนค่อนข้างมากทั้ง 2 ช่วงเวลานั้น จะมีความสัมพันธ์กันดีมากในรูปของ logistic function model เมื่อนำค่าประมาณของจำนวนชนิดเหล่านี้ที่กำหนดให้จำนวนต้นมาตรฐานเป็น 500 ต้นต่อแปลงไปหาดัชนีความหลากชนิด alpha และ H โดยทางอ้อมแล้วสามารถใช้พิจารณาการเปลี่ยนแปลงของดัชนีความหลากชนิด H ของแต่ละหมู่ไม้ต่อไปได้เมื่อเวลาเปลี่ยนไปอีกด้วย

  • [1] พงษ์ศักดิ์ สหุนาฬุ (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะวนศาสตร์ ภาควิชาวนวัฒนวิทยา)

  • [1] Pongsak Sahunalu (Kasetsart Univ., Bangkok (Thailand). Faculty of Forestry. Dept. of Silviculture)

134 221
  
 

  Export

  ค้นเพิ่มเติม

พงษ์ศักดิ์ สหุนาฬุ. (2541). ความหลากชนิดของไม้ยืนต้นในป่าเต็งรังที่สะแกราช จ.นครราชสีมา.  วารสารวนศาสตร์, 17 (1)
           ,26-35


พงษ์ศักดิ์ สหุนาฬุ. "ความหลากชนิดของไม้ยืนต้นในป่าเต็งรังที่สะแกราช จ.นครราชสีมา" วารสารวนศาสตร์, 17, 2541, 26-35.

พงษ์ศักดิ์ สหุนาฬุ. (2541). ความหลากชนิดของไม้ยืนต้นในป่าเต็งรังที่สะแกราช จ.นครราชสีมา.  วารสารวนศาสตร์, 17 (1)
           ,26-35