• ลักษณะทางด้านนิเวศวิทยา ของระบบวนเกษตรแบบสวนบ้าน บริเวณอำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี

  • Laksana thang dan niwetwitthaya khong rabop wanakaset baep suan ban boriwen Amphoe Mung Changwat Nonthaburi

  • วารสารวนศาสตร์

  • Thai Journal of Forestry (Thailand)

  • ก.ค.-ธ.ค. 2537

  • ISSN 0857-1724

  • 2537

  • ประพันธ์ สัมพันธ์พานิช
    มณฑล จำเริญพฤกษ์

  • ปีที่ 13 ฉบับที่ 2 หน้า 114-124

  • ไทย

  • F40-นิเวศวิทยาพืช

  • F40-นิเวศวิทยาพืช

  • AGROFORESTRY;ECOLOGY;DOMESTIC GARDENS;PLANTS;PLANT LITTER;NUTRIENTS;THAILAND

  • ระบบวนเกษตร;นิเวศวิทยา;สวนบ้าน;สังคมพืช;ชนิด;ซากพืช;ธาตุอาหาร;จ.นนทบุรี อ.เมือง

  • การศึกษาระบบนิเวศวิทยา ในระบบวนเกษตรแบบสวนบ้าน บริเวณอำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี ได้กระทำในระหว่างเดือนธันวาคม 2535 ถึงเดือนพฤศจิกายน 2536 สามารถแบ่งการศึกษาได้ 3 ส่วน คือ โครงสร้างและลักษณะเชิงปริมาณของสังคมพืช, ปริมาณการร่วงหล่นของซากพืช และอัตราการสลายตัวของซากพืช นอกจากนี้ยังได้เก็บตัวอย่างดินมาวิเคราะห์หาปริมาณธาตุอาหารเพื่อศึกษาความอุดมสมบูรณ์ของดินด้วย ผลการศึกษาพบว่า ในระบบสวนบ้านดังกล่าวมีขนาดพื้นที่ประมาณ 4.31 ไร่ (0.69 เฮกแตร์) มีความหนาแน่นของพรรณไม้ 6,877 ต้น/เฮกแตร์ จำนวน 58 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นไม้ผล ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเพียงอกของพรรณไม้ชนิดต่างๆ อยู่ระหว่าง 10.51-15.50 เซนติเมตร ความสูงระหว่าง 7.00-13.50 เมตร มีชั้นเรือนยอดที่ต่อเนื่องแบ่งได้ 4 ชั้น ในแง่ความสำคัญทางด้านนิเวศวิทยาพบว่า ทุเรียน และทองหลาง มีความสำคัญเป็นอันดับแรก มีค่า I.V.I. เท่ากับ 56 และ 53 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ หมาก มะพร้าว ชมพู่ม่าเหมี่ยว และอื่นๆ มีความสำคัญรองลงไป มีค่าดรรชนีความหลากหลาย (Shannon-Wiener index) เท่ากับ 4.0 ใกล้เคียงกับป่าเบญจพรรณ และป่าดิบแล้งบางแห่ง การร่วงหล่นของซากพืชรวม 5.682 ตัน/เฮกแตร์/ปี คิดเป็นธาตุอาหารกลับคืนสู่ดินได้แก่ ธาตุแคลเซียมมากที่สุด 106.883 กิโลกรัม/เฮกแตร์/ปี รองลงไปได้แก่ ไนโตรเจน โปแตสเซียม แมกนีเซียม และฟอสฟอรัส เท่ากับ 81.923, 75,083, 26.324 และ 8.042 กิโลกรัม/เฮกแตร์/ปี อัตราการผุสลายของซากพืช คิดเป็น 2.036 ตัน/เฮกแตร์/ปี

  • Study on "Ecological Characteristics of Homegarden Agroforestry System" was carried out at Amphoe Muang, Changwat Nonthaburi from December 1992 to November 1993. The study was classified into three aspects, namely, structural characteristic of the plant community, litterfall production and decomposition rate of litter. In addition, soil samples were also collected to analyse its fertility. The area of homegarden was about 4.31 rai (0.69 ha). The plant community consisted mainly of fruit trees with the density of 6,877 trees/hectare, totally 58 species. The trees were ranging from 10.51-15.5 cm, in DBH and 7.00-13.50 m. in height. The continuous canopy was divided into four layers. In terms of ecological aspect, Durio zibethinus and Erythrina subumbrans were dominant with I.V.I about 56 percent and 53 percent respectively, followed by Areca catechu, Cocos nudiflora, Eugenia malaccensis and so on. The Shannon-Wiener index was 4.0 as nearly as some mixed deciduous and dry evergreen forests. The annual litterfall production was about 5.682 ton/hectare/year which could be converted to amount of Ca, N, K, Mg, and P return to the soils about 106.883, 81.923, 75.083, 26.324 and 8.042 kg/hectare/year. The decomposition rate of litter was about 2.036 ton/hectare/year.

  • [1] ประพันธ์ สัมพันธ์พานิช (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะวนศาสตร์ ศูนย์วิจัยป่าไม้)
    [2] มณฑล จำเริญพฤกษ์ (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะวนศาสตร์ ภาควิชาวนวัฒนวิทยา)

  • [1] Prapan Sampanpanish (Kasetsart Univ., Bangkok (Thailand). Faculty of Forestry)
    [2] Monton Jamroenpruksa (Kasetsart University, Bangkok (Thailand). Faculty of Forestry. Department of Silviculture)

337 198
  
 

  Export

  ค้นเพิ่มเติม

ประพันธ์ สัมพันธ์พานิช และ มณฑล จำเริญพฤกษ์. (2537). ลักษณะทางด้านนิเวศวิทยา ของระบบวนเกษตรแบบสวนบ้าน
           บริเวณอำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี
.  วารสารวนศาสตร์, 13 (2) ,114-124


ประพันธ์ สัมพันธ์พานิช และ มณฑล จำเริญพฤกษ์. "ลักษณะทางด้านนิเวศวิทยา ของระบบวนเกษตรแบบสวนบ้าน
           บริเวณอำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี" วารสารวนศาสตร์, 13, 2537, 114-124.

ประพันธ์ สัมพันธ์พานิช และ มณฑล จำเริญพฤกษ์. (2537). ลักษณะทางด้านนิเวศวิทยา ของระบบวนเกษตรแบบสวนบ้าน
           บริเวณอำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี
.  วารสารวนศาสตร์, 13 (2) ,114-124