• ปีที่ 43 ฉบับที่ 1 หน้า 111-120

  • https://li01.tci-thaijo.org/index.php/tjf/index

  • ไทย

  • F40-นิเวศวิทยาพืช

  • F63-พันธุศาสตร์พืช

  • F50-โครงสร้างของพืช

  • Apocynaceae;ดอก;กายวิภาคของพืช;การสืบพันธุ์;การออกดอก;การเกิดผล;ระยะการพัฒนาของพืช;การถ่ายละอองเกสร;แมลงที่เป็นประโยชน์;สิ่งที่ช่วยในการถ่ายละอองเกสร;ความหลากหลายทางชีวภาพ;อุทยานแห่งชาติ;ประเทศไทย

  • Apocynaceae;Flowers;Plant anatomy;Reproduction;Flowering;Fruiting;Plant developmental stages;Pollination;Useful insects;Pollinators;Biodiversity;National parks;Thailand

  • โมกพะวอ;วงศ์ตีนเป็ด;ดอก;สัณฐานวิทยาของพืช;ชีววิทยาการสืบพันธุ์;การผสมเกสร;การออกดอก;อัตราการติดผล;แมลงที่เป็นประโยชน์;ความหลากหลายทางชีวภาพ;อุทยานแห่งชาติขุนพะวอ;จ.ตาก อ.แม่สอด;ประเทศไทย

  • Wrightia tokiae;Apocynaceae;Flowers;Plant morphology;Reproductive biology;Floral morphology;Reproductive biology;Pollination;Fruiting rate;Useful insects;Biodiversity;National park;Tak province;Thailand

  • ชีววิทยาการสืบพันธุ์ของโมกพะวอ (Wrightia tokiae D.J. Middleton) ได้ศึกษาในพื้นที่อุทยานแห่งชาติขุนพะวอ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2565 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2566 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชีววิทยาและการพัฒนาการของดอก การผสมเกสร อัตราการติดผล และความหลากชนิดของแมลงตอมดอก ซึ่งการสำรวจแมลงใช้วิธีการวางกับดักมุ้งในช่วงที่โมกพะวอกำลังออกดอก ผลการศึกษาพบว่า โมกพะวอเริ่มออกดอกตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคม และบานไปถึงปลายเดือนมิถุนายน การพัฒนาของดอกโมกพะวอเริ่มตั้งแต่เป็นตาดอก พัฒนาไปเป็นช่อดอกถึงระยะดอกพัฒนาเต็มที่ และบาน ใช้เวลาประมาณ 9-10 วัน ดอกสมบูรณ์เพศ ช่อดอกแบบกระจุก กลีบดอกรูปกงล้อ สีส้มอ่อน ดอกร่วงสีแดงเข้ม เรณูเดี่ยว รูปทรงกลม ค่าเฉลี่ยจำนวนเรณูต่อดอกเท่ากับ 6,633.40+-750.50 เรณู ค่าเฉลี่ยจำนวนออวุลต่อดอก 38.60+-2.99 ออวุล ค่าอัตราส่วนจำนวนเรณูต่อออวุล มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 170.04+-9.58 จัดเป็นระบบผสมข้ามต่ำมีแนวโน้มผสมพันธุ์ในตัวเอง ส่วนการศึกษาอัตราการติดผล พบเฉพาะการผสมแบบเปิดหรือปล่อยให้มีการผสมเกสรตามธรรมชาติ มีอัตราการติดผลร้อยละ 10.24 และการผสมเกสรตัวเอง โดยการคลุมช่อดอกที่ไม่พบการติดผล แสดงให้เห็นว่าโมกพะวอเป็นพืชที่จำเป็นต้องมีพาหะนำเรณูช่วยในการผสมเกสร ส่วนชนิดของแมลงตอมดอกพบเป็นพวกผีเสื้อกลางคืนในอันดับ Lepidoptera จำนวน 20 ชนิด ซึ่งจัดเป็นกลุ่มแมลงตอมดอกที่สำคัญในการช่วยผสมเกสรที่มีพฤติกรรมสัมพันธ์กับการบานของดอกโมกพะวอที่ดอกบานในตอนกลางคืน

  • The reproductive biology of Wrightia tokiae D.J. Middleton was studied in Khunpawor National Park, Maesot district, Tak province, Thailand during October 2022–September 2023. Floral biology and development, pollination, percentage of fruit set and diversity of insects were investigated using an air-flight malaise trap during flower blooming. The flowers of W. tokitae were generally in bloom from late May to June. Flower buds developed to inflorescence maturity in approximately 9–10 days. The W. tokiae flower was perfect, with cyme type inflorescence, the corolla light orange and rotate. while the fallen corolla was reddish. The pollen grains were monad and spherical. One flower produced, 6,633.40+-750.50 pollen grains and contained 38.60+-2.99 ovules. The average pollen-to-ovule ratio was 170.04+-9.58, classified as facultative autogamy. The open-pollinated flower fruit set rate was 10.24 (n=127), while there was no successful outcome in the self-pollination set. The fruit set rates indicated that pollinators were required for reproductive success. In total, 20 species of visiting insects were identified to W. tokiae flowers (all moths in the Lepidoptera order). These insects play an important role in the pollination of W. tokiae as its flowers bloom at night.

  • [1] นลพรรณ ทองมีเอียด (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะวนศาสตร์)
    [2] วัฒนชัย ตาเสน (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะวนศาสตร์)
    [3] วิวัฒน์ หาญวงศ์จิรวัฒน์ (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะวนศาสตร์)
    [4] สราวุธ สังข์แก้ว (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะวนศาสตร์)

  • [1] Nonlapan Thongmee-eiad (Kasetsart University, Bangkok (Thailand). Faculty of Forestry)
    [2] Wattanachai Tasen (Kasetsart University, Bangkok (Thailand). Faculty of Forestry)
    [3] Wiwat Hanvongjirawat (Kasetsart University, Bangkok (Thailand). Faculty of Forestry)
    [4] Sarawood Sungkaew (Kasetsart University, Bangkok (Thailand). Faculty of Forestry)

2
  
 

  Export

  ค้นเพิ่มเติม

นลพรรณ ทองมีเอียด และคนอื่นๆ. (2567). ชีววิทยาการสืบพันธุ์ของโมกพะวอ (Wrightia tokiae D.J. Middleton) ในอุทยานแห่งชาติขุนพะวอ
           จังหวัดตาก
.  วารสารวนศาสตร์ไทย, 43 (1) ,111-120


นลพรรณ ทองมีเอียด และคนอื่นๆ. "ชีววิทยาการสืบพันธุ์ของโมกพะวอ (Wrightia tokiae D.J. Middleton) ในอุทยานแห่งชาติขุนพะวอ
           จังหวัดตาก" วารสารวนศาสตร์ไทย, 43, 2567, 111-120.

นลพรรณ ทองมีเอียด และคนอื่นๆ. (2567). ชีววิทยาการสืบพันธุ์ของโมกพะวอ (Wrightia tokiae D.J. Middleton) ในอุทยานแห่งชาติขุนพะวอ
           จังหวัดตาก
.  วารสารวนศาสตร์ไทย, 43 (1) ,111-120