• การประเมินขีดความสามารถในการรองรับของแหล่งท่องเที่ยวในเขตอุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า จังหวัดพิษณุโลก

  • Tourism carrying capacity assessment for Phu Hin Rong Kla National Park, Phitsanulok province

  • วารสารวนศาสตร์ไทย

  • Thai Journal of Forestry

  • ม.ค.-มิ.ย. 2567

  • 2730-2180
    2822-115X

  • 2567

  • พัชรา ปั้นพุ่มโพธิ์
    อิสรีย์ ฮาวปินใจ
    ปัญจพร คำโย
    ต่อลาภ คำโย

  • ปีที่ 43 ฉบับที่ 1 หน้า 72-86

  • https://li01.tci-thaijo.org/index.php/tjf/index

  • ไทย

  • P01-การอนุรักษ์ธรรมชาติ/ที่ดิน

  • อุทยานแห่งชาติ;การท่องเที่ยว;นิเวศวิทยาของป่าไม้;นิเวศวิทยาพืช;การอนุรักษ์ธรรมชาติ;ประเทศไทย

  • National parks;Tourism;Forest ecology;Plant ecology;Nature conservation;Thailand

  • นักท่องเที่ยว;การท่องเที่ยว;นิเวศวิทยา;การประเมินขีดความสามารถ;อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า;จ.พิษณุโลก;ประเทศไทย

  • Tourist;Tourism;Ecology;Carrying capacity assessment;National park;Phitsanulok province;Thailand

  • การประเมินขีดความสามารถในการรองรับของแหล่งท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า เพื่อศึกษาขีดความสามารถในการรองรับด้านกายภาพ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านชีวภาพหรือนิเวศวิทยา และด้านสังคมจิตวิทยา ทำการศึกษาเดือนกรกฎาคม 2565-เดือนเมษายน 2566 รวม 10 เดือน พบว่า ขีดความสามารถในการรองรับด้านกายภาพ และด้านสิ่งอำนวยความสะดวก รองรับนักท่องเที่ยวได้ 970,984 คนต่อปี และ 2,327,971 คนต่อปี ตามลำดับ จากสถิติจำนวนนักท่องเที่ยวในปี พ.ศ. 2560 มีจำนวนนักท่องเที่ยวสูงสุด 320,675 คน คิดเป็นร้อยละ 24.55 และ 10.24 ของขีดความสามารถในการรองรับด้านกายภาพ และด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ซึ่งมีผลกระทบน้อย หรือจำนวนนักท่องเที่ยวต่ำกว่าขีดความสามารถในการรองรับทั้ง 2 ด้าน ขีดความสามารถในการรองรับด้านชีวภาพหรือนิเวศวิทยา พบว่า ร้อยละการปกคลุมของรากไม้โผล่เท่ากับ 12.60 อยู่ในระดับมีผลกระทบน้อยถึงไม่มี การปกคลุมของพันธุ์พืช ไม้หนุ่ม มีผลกระทบมาก และผลกระทบรุนแรง 3 และ 6 ชนิด กล้าไม้ มีผลกระทบปานกลาง ผลกระทบมาก และผลกระทบรุนแรง 1, 2 และ 4 ชนิด ตามลำดับ ขีดความสามารถในการรองรับด้านสังคมจิตวิทยา พบว่า การรับรู้ถึงความรู้สึกแออัดต่อการท่องเที่ยว มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 12.25 มีผลกระทบอยู่ในระดับน้อย หรือจำนวนนักท่องเที่ยวไม่เกินขีดความสามารถในการรองรับด้านสังคมจิตวิทยา จะเห็นว่าขีดความสามารถในการรองรับด้านชีวภาพหรือนิเวศวิทยา มีผลกระทบต่อพรรณไม้หลายชนิดอยู่ในระดับรุนแรง และระดับมาก ควรมีแนวทางจัดการพื้นที่ เช่น กำหนดปิดการท่องเที่ยวเพื่อให้ทรัพยากรธรรมชาติฟื้นตัว จำกัดจำนวนนักท่องเที่ยว หรือลดจำนวนรอบการใช้ประโยชน์ ซึ่งจะทำให้เกิดความยั่งยืนของระบบนิเวศในพื้นที่ต่อไปได้

  • The tourism carrying capacity was assessed of Phu Hin Rong Kla National Park based on the physical, facilities and biological/ecological and sociological aspects. Data were collected monthly from July 2022 to April 2023 (10 months). The physical and facility capacities could accommodate 970,984 and 2,327,971 tourists per year, respectively. Based on statistics in 2017, the maximum number of tourists was 320,675, which accounted for 24.55 percent and 10.24 percent of the physical and facility capacities, respectively, indicating that the number of tourists had a minimal impact and was lower than the park's capacity for these items. From the biological or ecological aspect, based on sampling along major trails, the area of exposed tree roots was 12.60 percent, which had a negligible impact. However, 3 and 6 species of young plants were highly affected and severely affected, respectively, while 1, 2 and 4 species of seedlings were moderately affected, highly affected and severely affected, respectively. From the sociological aspect, the park's capacity to support social psychology had an average score of 12.25 percent, suggesting a low impact, with the number of tourists not exceeding the area's capacity to support psychological sociological aspects. Considering the biological or ecological carrying capacity, many plant species were affected to a severe and high extent. Guidelines should be developed for managing the area, such as restricting tourism to allow natural resources to recover by limiting the number of tourists or tours, to assist in the future sustainability of the area's ecosystems.

  • [1] พัชรา ปั้นพุ่มโพธิ์ (มหาวิทยาลัยแม่โจ้ วิทยาเขตแพร่ เฉลิมพระเกียรติ สาขาวิชาการจัดการป่าไม้)
    [2] อิสรีย์ ฮาวปินใจ (มหาวิทยาลัยแม่โจ้ วิทยาเขตแพร่ เฉลิมพระเกียรติ สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมป่าไม้)
    [3] ปัญจพร คำโย (มหาวิทยาลัยแม่โจ้ วิทยาเขตแพร่ เฉลิมพระเกียรติ สาขาวิชารัฐศาสตร์)
    [4] ต่อลาภ คำโย (มหาวิทยาลัยแม่โจ้ วิทยาเขตแพร่ เฉลิมพระเกียรติ สาขาวิชาเกษตรป่าไม้)

  • [1] Patchara Panpoompo (Maejo University. Phrae Campus, Phrae (Thailand). Program in Forest Management)
    [2] Itsaree Howpinjai (Maejo University. Phrae Campus, Phrae (Thailand). Program in Forest Industry Technology)
    [3] Punchaporn Kamyo (Maejo University. Phrae Campus, Phrae (Thailand). Program in Political Science)
    [4] Torlarp Kamyo (Maejo University. Phrae Campus, Phrae (Thailand). Program in Agroforestry)

3
  
 

  Export

  ค้นเพิ่มเติม

พัชรา ปั้นพุ่มโพธิ์ และคนอื่นๆ. (2567).
           การประเมินขีดความสามารถในการรองรับของแหล่งท่องเที่ยวในเขตอุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า
           จังหวัดพิษณุโลก
.  วารสารวนศาสตร์ไทย, 43 (1) ,72-86


พัชรา ปั้นพุ่มโพธิ์ และคนอื่นๆ.
           "การประเมินขีดความสามารถในการรองรับของแหล่งท่องเที่ยวในเขตอุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า จังหวัดพิษณุโลก"
           วารสารวนศาสตร์ไทย, 43, 2567, 72-86.

พัชรา ปั้นพุ่มโพธิ์ และคนอื่นๆ. (2567).
           การประเมินขีดความสามารถในการรองรับของแหล่งท่องเที่ยวในเขตอุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า
           จังหวัดพิษณุโลก
.  วารสารวนศาสตร์ไทย, 43 (1) ,72-86