• การมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการป่าชุมชนบ้านปางสัก ตำบลแม่เปิน อำเภอแม่เปิน จังหวัดนครสวรรค์

  • Community participation with Pangsak community forest administration, Mae Poen sub-district, Mae Poen district, Nakhon Sawan province

  • วารสารวนศาสตร์ไทย

  • Thai Journal of Forestry

  • ม.ค.-มิ.ย. 2567

  • 2730-2180
    2822-115X

  • 2567

  • สามินี สุขสุเมฆ
    กิติชัย รัตนะ
    พสุธา สุนทรห้าว

  • ปีที่ 43 ฉบับที่ 1 หน้า 57-71

  • https://li01.tci-thaijo.org/index.php/tjf/index

  • ไทย

  • K10-วิทยาการป่าไม้

  • E50-ชนบท

  • P01-การอนุรักษ์ธรรมชาติ/ที่ดิน

  • ทรัพยากรป่าไม้;ป่าชุมชน;การมีส่วนร่วมทางสังคม;ความเป็นเจ้าของที่ดิน;การจัดการป่าไม้;การอนุรักษ์ป่าไม้;ประเทศไทย

  • Forest resources;Communal forests;Social participation;Land ownership;Forest management;Forest reserves;Thailand

  • ทรัพยากรป่าไม้;ป่าชุมชน;การมีส่วนร่วมของชุมชน;การบริหารจัดการ;การถือครองที่ดิน;การบุกรุกป่า;จ.นครสวรรค์ อ.แม่เปิน ต.แม่เปิน;ประเทศไทย

  • Forest resources;Community forest;Community participation;Administration;Forest land encroachment;Land ownership;Nakhon Sawan province;Thailand

  • ป่าชุมชนเป็นหนึ่งในหลักการบริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้ ในการแก้ไขปัญหาการบุกรุกการถือครองที่ดิน ในเขตป่าและการใช้ทรัพยากรป่าไม้ที่เกินขีดจำกัด ซึ่งการศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นไปเพื่อศึกษาข้อมูลประชากรด้านเศรษฐกิจ สังคมต่อระดับการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ปัจจัยและระดับการมีส่วนร่วมที่มีผลต่อการบริหารจัดการ และแนวทางการพัฒนาศักยภาพป่าชุมชนบ้านปางสัก จังหวัดนครสวรรค์ โดยใช้แบบสัมภาษณ์มาวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและศักยภาพ (SWOT analysis) ด้วยเทคนิค TOWS matrix จำนวน 9 คน และใช้แบบสอบถามมาวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติเชิงอนุมาน และหาความสัมพันธ์ของข้อมูล จำนวน 91 คน โดยใช้ independent t-test, one-way ANOVA และ chi-square ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.10 ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 62.64 มีช่วงอายุ 30-59 ปี สำเร็จการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้น มีสมาชิกในครัวเรือน 4-6 คน ประกอบอาชีพหลัก คือ ด้านเกษตรกรรม อาชีพรอง คือ ด้านการรับจ้างทั่วไป ส่วนใหญ่มีรายได้ต่อปีในช่วง 50,001-100,000 บาท รายจ่ายในช่วง 75,001-100,000 บาท มีภาระหนี้สิน 100,000 บาท ขึ้นไป มีการกู้ยืมเงินจากกองทุนหมู่บ้าน มีสิทธิ์การถือครองที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร มีระดับการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่ระดับมาก เฉลี่ย 3.93 คะแนน มีระดับความคิดเห็นด้านการบริหารจัดการที่ระดับมากที่สุด คือ ด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เฉลี่ย 4.30 มีกระบวนการมีส่วนร่วมที่ระดับการให้ข้อมูลข่าวสาร และมีระดับความพึงพอใจต่อการบริหารจัดการที่ระดับมากที่สุดร้อยละ 43.96 โดยการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและศักยภาพ พบว่า สอดคล้องกับสถานการณ์ภายนอกฉุดและมีปัญหา แต่ภายในโดดเด่นพร้อมต่อโอกาสในการประยุกต์ใช้ในอนาคต

  • Community forest is the principle of forest resource management, to solve the problem of forest land encroachment and exceeding forest resource utilization, the objectives of the study to determine people and social and to determine the economic factors and level of involvement in affecting engagement for administrative management and capacity development guidelines in the Pangsak community forest in Nakhon Sawan Province. The research methodology was employed depth interview for data collection and analyze the position and potential by SWOT and TOWS matrix of 9 people. The survey research by questionnaire then analyze data by descriptive and inferential statistics, through data correlation by testing the hypothesis of 91 people using an independent t-test, one-way ANOVA, and Chi-square at a significance level of 0.10. The study found that 62.64 percent of the respondents were female and their average age is 30-59 years old. Most of them graduated from primary school with there are 4-6 household members. The main occupation was agriculture and having the minor occupation was general contractor. Their household annual income is 50,001-100,000 Baht with expense of 75,001-100,000 Baht, which they have liability more than 100,000 Baht. There is a loan from the village fund. Land tenure is an agricultural land reform. There is a high level of use of natural resource utilization with average score of 3.93. The opinion on community forest management at the highest levels of economic society and environment with the mean 4.30 that provided by Public Participation (IAP2) at the levels of information. The level of satisfaction was 43.96 percent, in additional to analyze position and potential findings the situation is a cash cow. The outside pulls in, but the inside is outstanding for ready to be applied opportunities in the future.

  • [1] สามินี สุขสุเมฆ (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะวนศาสตร์)
    [2] กิติชัย รัตนะ (กรมควบคุมมลพิษ)
    [3] พสุธา สุนทรห้าว (กรมควบคุมมลพิษ)

  • [1] Saminee Suksumek (Kasetsart University, Bangkok (Thailand). Faculty of Forestry)
    [2] Kitichai Rattana (Pollution Control Department, Bangkok (Thailand))
    [3] Pasuta Sunthornhao (Pollution Control Department, Bangkok (Thailand))

1
  
 

  Export

  ค้นเพิ่มเติม

สามินี สุขสุเมฆ. (2567). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการป่าชุมชนบ้านปางสัก ตำบลแม่เปิน อำเภอแม่เปิน
           จังหวัดนครสวรรค์
.  วารสารวนศาสตร์ไทย, 43 (1) ,57-71


สามินี สุขสุเมฆ. "การมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการป่าชุมชนบ้านปางสัก ตำบลแม่เปิน อำเภอแม่เปิน
           จังหวัดนครสวรรค์" วารสารวนศาสตร์ไทย, 43, 2567, 57-71.

สามินี สุขสุเมฆ. (2567). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการป่าชุมชนบ้านปางสัก ตำบลแม่เปิน อำเภอแม่เปิน
           จังหวัดนครสวรรค์
.  วารสารวนศาสตร์ไทย, 43 (1) ,57-71