• การประยุกต์ใช้แบบจำลอง SWAT เพื่อวิเคราะห์ปริมาณน้ำท่าเชิงพื้นที่ จากการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณลุ่มน้ำสาขาน้ำแม่สรวย จังหวัดเชียงราย

  • Application of SWAT model for spatial runoff analysis from land use change in Nam Mae Suai sub-watershed, Chiang Rai province

  • วารสารวนศาสตร์ไทย

  • Thai Journal of Forestry

  • ม.ค.-มิ.ย. 2567

  • 2730-2180
    2822-115X

  • 2567

  • นธี สดชื่น
    วันชัย อรุณประภารัตน์
    วีนัส ต่วนเครือ

  • ปีที่ 43 ฉบับที่ 1 หน้า 1-13

  • https://li01.tci-thaijo.org/index.php/tjf/index

  • ไทย

  • P10-ทรัพยากรน้ำ

  • ทรัพยากรน้ำ;การใช้ที่ดิน;การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์;น้ำไหลบ่า;น้ำฝน;ผลผลิตน้ำท่า;การจัดการน้ำ;ลุ่มน้ำ;ประเทศไทย

  • Water resources;Land use;Computer applications;Runoff;Rainwater;Water yield;Water management;Watersheds;Thailand

  • ทรัพยากรน้ำ;การใช้ประโยชน์ที่ดิน;การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี;แบบจำลอง SWAT;ปริมาณน้ำท่า;ปริมาณน้ำฝน;สมดุลน้ำ;ลุ่มน้ำสาขาน้ำแม่สรวย;จ.เชียงราย;ประเทศไทย

  • Water resource;Land use change;Soil and water assessment tool;SWAT model;Runoff;Water balance;Nam Mae Suai sub-watershed;Chiang Rai province;Thailand

  • ลุ่มน้ำสาขาน้ำแม่สรวยมีปัญหาด้านทรัพยากรน้ำทั้งน้ำท่วมและขาดแคลนน้ำทุกปี ปริมาณน้ำต้นทุนที่จะไหลลงสู่อ่างเก็บน้ำแม่สรวยอาจะมีการเปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน ดังนั้นจึงประยุกต์ใช้แบบจำลอง Soil and Water Assessment Tool (SWAT) เพื่อประเมินปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยและวิเคราะห์สมดุลน้ำจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินในปี พ.ศ.2556 และ 2561 ผลการศึกษาพบว่า แบบจำลอง SWAT มีประสิทธิภาพในการประเมินปริมาณน้ำท่าและการวิเคราะห์สมดุลน้ำของลุ่มน้ำสาขาน้ำแม่สรวย โดยผลการปรับเทียบแบบจำลองให้ค่า R2 เท่ากับ 0.80 ค่า NSE เท่ากับ 0.76 และค่า PBIAS เท่ากับ -9.2 ซึ่งพบว่าในช่วงปีพ.ศ. 2556 และ 2561 มีการลดลงของพื้นที่ป่าไม้ร้อยละ 2.9 เปลี่ยนเป็นพื้นที่เกษตรกรรมและที่อยู่อาศัย ทำให้ปริมาณน้ำท่ารายปีเฉลี่ยลดลงน้อยกว่าร้อยละ 1 แต่จะสังเกตได้ว่าปริมาณน้ำท่าช่วงแล้งฝนลดลงประมาณร้อยละ 2 โดยเฉพาะในช่วงปลายฤดูฝนตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงธันวาคม เนื่องจากปริมาณน้ำฝนที่ลดลงแล้วยังมีสาเหตุจากการลดลงของพื้นที่ป่าไม้เป็นพื้นที่เกษตรกรรมทำให้เกิดการสูญเสียน้ำจากการคายระเหยเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 ทำให้น้ำในดินและน้ำไหลในลำธารมีปริมาณลดลง และผลผลิตน้ำของลุ่มน้ำมีปริมาณลดลงเล็กน้อย สรุปได้ว่าปริมาณน้ำท่าและสมดุลน้ำของลุ่มน้ำสาขาน้ำแม่สรวยลดลงจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินไม่มากนัก (ลดลงไม่เกินร้อยละ 2)

  • The Nam Mae Suai sub-watershed has water resource problems, including flooding and water scarcity every year. Consequently, the amount of water flowing into the Nam Mae Suai Reservoir may fluctuate due to land use changes in the past. Therefore, the Soil and Water Assessment Tool (SWAT) model was applied to assess the mean runoff and to analyze the water balance from the land use change effects from 2013 to 2018. The results showed that the SWAT model was effective in runoff assessment and water balance analysis for the Nam Mae Suai sub-watershed. The results of model calibration gave values for the coefficient of determination (R2) of 0.80, the Nash-Sutcliffe efficiency (NSE) of 0.76 and the percentage bias (PBIAS) of -9.2. It was found that between 2013 and 2018, there was a decrease forest area of 2.9 percent, converted to agricultural and residential areas, causing the average annual runoff to decrease by less than 1 percent. So, it can be observed that the amount of runoff during the dry period decreased by approximately 2 percent, especially at the end of the rainy season from October to December, due to decreasing rainfall, and reduction of forest areas into agricultural areas, causing water loss from evapotranspiration to increase by 2 percent. This causes the soil water storage and streamflow to decrease and the water yields also only slightly decreased. It can be concluded that the runoff volume and water balance of Nam Mae Suai sub-watershed slightly decreased from land use changes. (Overall decreased by no more than 2 percent).

  • [1] นธี สดชื่น (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะวนศาสตร์)
    [2] วันชัย อรุณประภารัตน์ (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะวนศาสตร์)
    [3] วีนัส ต่วนเครือ (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะวนศาสตร์)

  • [1] Natee Sodchuen (Kasetsart University, Bangkok (Thailand). Faculty of Forestry)
    [2] Wanchai Arunpraparut (Kasetsart University, Bangkok (Thailand). Faculty of Forestry)
    [3] Venus Tuankrua (Kasetsart University, Bangkok (Thailand). Faculty of Forestry)

3
  
 

  Export

  ค้นเพิ่มเติม

นธี สดชื่น. (2567). การประยุกต์ใช้แบบจำลอง SWAT เพื่อวิเคราะห์ปริมาณน้ำท่าเชิงพื้นที่
           จากการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณลุ่มน้ำสาขาน้ำแม่สรวย จังหวัดเชียงราย

           วารสารวนศาสตร์ไทย, 43 (1) ,1-13


นธี สดชื่น. "การประยุกต์ใช้แบบจำลอง SWAT เพื่อวิเคราะห์ปริมาณน้ำท่าเชิงพื้นที่
           จากการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณลุ่มน้ำสาขาน้ำแม่สรวย จังหวัดเชียงราย" วารสารวนศาสตร์ไทย, 43,
           2567, 1-13.

นธี สดชื่น. (2567). การประยุกต์ใช้แบบจำลอง SWAT เพื่อวิเคราะห์ปริมาณน้ำท่าเชิงพื้นที่
           จากการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณลุ่มน้ำสาขาน้ำแม่สรวย จังหวัดเชียงราย

           วารสารวนศาสตร์ไทย, 43 (1) ,1-13