• ลักษณะการทำลายของหนอนไม้ไผ่ (Omphisa fuscidentalis) ในไผ่หวานอ่างขาง (Dendrocalamus latiflorus) ณ สถานีเกษตรหลวงปางดะ จังหวัดเชียงใหม่

  • Evaluation of the damage caused by the bamboo caterpillar (Omphisa fuscidentalis) in sweet giant bamboo (Dendrocalamus latiflorus) at the Royal Agricultural Station Pangda, Chiang Mai province

  • วารสารวนศาสตร์ไทย

  • Thai Journal of Forestry

  • ก.ค.-ธ.ค. 2566

  • 2730-2180
    2822-115X

  • 2566

  • วรรณภา เขียวนิล
    เดชา วิวัฒน์วิทยา
    สราวุธ สังข์แก้ว

  • ปีที่ 42 ฉบับที่ 2 หน้า 99-112

  • https://li01.tci-thaijo.org/index.php/tjf/index

  • ไทย

  • H10-ศัตรูพืช

  • ไผ่;Dendrocalamus;Poaceae;หนอน;แมลงศัตรู;ศัตรูพืช;ความเสียหาย;ประเทศไทย

  • Bamboos;Dendrocalamus;Poaceae;Larvae;Pest insects;Pests of plants;Damage;Thailand

  • ไผ่หวานอ่างขาง;หนอนไม้ไผ่;หนอนรถด่วน;ศัตรูไผ่;ศัตรูพืช;ลักษณะการทำลาย;การเข้าทำลาย;ความเสียหาย;สถานีเกษตรหลวงปางดะ;จ.เชียงใหม่ อ.สะเมิง;ประเทศไทย

  • Sweet giant bamboo;Dendrocalamus latiflorus;Bamboo caterpillar;Omphisa fuscidentalis;Pests;Damage characteristics;Chiang Mai province;Thailand

  • การศึกษาลักษณะการทำลายของหนอนไม้ไผ่ (Omphisa fuscidentalis) ที่พบในไผ่หวานอ่างขาง (Dendrocalamus latiflorus) ได้ศึกษาในพื้นที่สถานีเกษตรหลวงปางดะ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ดำเนินการศึกษาระหว่างเดือนกันยายน พ.ศ. 2563-เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 โดยศึกษาปริมาณหนอนไม้ไผ่ ลักษณะการทำลายภายนอกและภายในที่ลำไผ่ได้รับความเสียหาย เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานและนำไปศึกษาชนิดไผ่ที่มีความเหมาะสมในการเลี้ยงหนอนไม้ไผ่ จากการศึกษาพบหนอนไม้ไผ่เฉลี่ย 190 ตัวต่อลำ จำนวนปล้องที่ถูกทำลายเฉลี่ย 14 ปล้องต่อลำ การทำลายของหนอนไม้ไผ่ไม่ส่งผลกระทบต่อขนาดความโตไผ่ แต่บริเวณปล้องการทำลายที่ 9-13 เฉลี่ย 5 ปล้องต่อลำ พบการทำลายมากส่งผลให้ปล้องไผ่มีความยาวปล้องสั้นลง คิดเป็น 48.8 เปอร์เซ็นต์ ของปล้องก่อนปล้องถูกทำลาย และพบเนื้อไม้ทะลุเป็นร่องร่วมกับบริเวณที่มีความยาวปล้องสั้น ซึ่งเป็นผลมาจากการกินเยื่อไผ่และเนื้อไผ่ของตัวหนอนในปริมาณมาก โดยพบว่ามีร้อยละการกินเยื่อไผ่และเนื้อไผ่มากที่สุดประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ แต่ปล้องเหนือปล้องถูกทำลายยังสามารถเติบโตต่อไปได้ ทั้งนี้ จากการศึกษาพบจำนวนหนอนไม้ไผ่มากที่สุด 484 ตัวต่อลำ จึงสรุปได้ว่า ไผ่หวานอ่างขางสามารถพบปริมาณและน้ำหนักหนอนไม้ไผ่ต่อลำ มากกว่าปกติ และนำไปเป็นแนวทางในการศึกษาด้านการเพิ่มผลผลิตหนอนไม้ไผ่ต่อลำต่อไป

  • The present study reports on the damage caused by the bamboo caterpillar, Omphisa fuscidentalis to the sweet giant bamboo, Dendrocalamus latiflorus, growing in the Royal Agricultural Station Pangda, Samoeng district, Chiang Mai province. During a period from September 2020 to February 2021, the number of bamboo caterpillars, external effects and internal damage characteristics were determined to be used as basic information while providing guidelines for identifying bamboo species suitable for rearing bamboo caterpillars. The results showed that the average number of bamboo caterpillars were 190 larvae/culm. The average number of damaged internodes was 14 internodes/culm. Although the diameter of internodes was unaffected by the bamboo caterpillar, damaged internodes were located at 9th-13th positions, which experienced high levels of damage, and were shortened by an average of 5 internodes per culm. This reduction in length accounted for approximately 48.8 percent of the damage to the lower part of the internode. Furthermore, the study revealed that wood penetrated the cracks in the bamboo culm, particularly in the area with short internodes. These highly damaged internodes had the highest percentage of bamboo pulp and wood consumption, approximately 70 percent, but the upper internodes of damaged internodes continued to develop. Based on the results, it was observed that the sweet giant bamboo exhibited a higher quantity and weight of bamboo caterpillars/culm compared to the usual numbers. The study recorded the highest number of bamboo caterpillars at 484 larvae/culm. These findings suggest that the sweet giant bamboo can serve as a guideline for conducting further studies aimed at increasing the yields of bamboo caterpillars/culm.

  • [1] วรรณภา เขียวนิล (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะวนศาสตร์)
    [2] เดชา วิวัฒน์วิทยา (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะวนศาสตร์)
    [3] สราวุธ สังข์แก้ว (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะวนศาสตร์)

  • [1] Wannapa Keawnin (Kasetsart University, Bangkok (Thailand). Faculty of Forestry)
    [2] Decha Wiwatwitaya (Kasetsart University, Bangkok (Thailand). Faculty of Forestry)
    [3] Sarawood Sungkaew (Kasetsart University, Bangkok (Thailand). Faculty of Forestry)

2 22
  
 

  Export

  ค้นเพิ่มเติม

วรรณภา เขียวนิล. (2566). ลักษณะการทำลายของหนอนไม้ไผ่ (Omphisa fuscidentalis) ในไผ่หวานอ่างขาง (Dendrocalamus latiflorus) ณ สถานีเกษตรหลวงปางดะ
           จังหวัดเชียงใหม่
.  วารสารวนศาสตร์ไทย, 42 (2) ,99-112


วรรณภา เขียวนิล. "ลักษณะการทำลายของหนอนไม้ไผ่ (Omphisa fuscidentalis) ในไผ่หวานอ่างขาง (Dendrocalamus latiflorus) ณ สถานีเกษตรหลวงปางดะ
           จังหวัดเชียงใหม่" วารสารวนศาสตร์ไทย, 42, 2566, 99-112.

วรรณภา เขียวนิล. (2566). ลักษณะการทำลายของหนอนไม้ไผ่ (Omphisa fuscidentalis) ในไผ่หวานอ่างขาง (Dendrocalamus latiflorus) ณ สถานีเกษตรหลวงปางดะ
           จังหวัดเชียงใหม่
.  วารสารวนศาสตร์ไทย, 42 (2) ,99-112