• มูลค่าการใช้ประโยชน์ของป่าในป่าชุมชนบ้านปางสวรรค์ ตำบลคอกควาย อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี

  • The utilization value of non–timber forest products at the Ban Pang Sawan community forest, Khok Khwai sub–district, Ban Rai district, Uthai Thani province

  • วารสารวนศาสตร์ไทย

  • Thai Journal of Forestry

  • ก.ค.-ธ.ค. 2566

  • 2730-2180
    2822-115X

  • 2566

  • ปุณยวัจน์ มีสมคิด
    สันติ สุขสอาด
    อภิชาต ภัทรธรรม

  • ปีที่ 42 ฉบับที่ 2 หน้า 90-98

  • https://li01.tci-thaijo.org/index.php/tjf/index

  • ไทย

  • K50-วนผลิตภัณฑ์

  • E20-การบริหาร/ธุรกิจเกษตร

  • ชุมชนชนบท;ครอบครัว;ป่าชุมชน;ผลิตภัณฑ์จากป่าที่ไม่ใช่เนื้อไม้;คุณค่าจากการใช้;รายได้;สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคม;ประเทศไทย

  • Rural communities;Households;Communal forests;Nonwood forest products;Use value;Income;Socioeconomic environment;Thailand

  • ชุมชน;ครัวเรือน;ป่าชุมชน;ของป่า;การแปรรูป;การใช้ประโยชน์;มูลค่าสุทธิ;รายได้;ผลตอบแทน;จ.อุทัยธานี อ.บ้านไร่ ต.คอกควาย;ประเทศไทย

  • Community;Household;Community forest;Non–timber forest products;Utilization value;Income;Returns;Uthai Thani province;Thailand

  • การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลทางเศรษฐกิจและสังคม มูลค่าการใช้ประโยชน์จากของป่าและการแปรรูปของป่าเป็นสินค้าของราษฎรที่อาศัยอยู่ในชุมชนบ้านปางสวรรค์ ตำบลคอกควาย อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี โดยใช้แบบสัมภาษณ์ในการเก็บข้อมูลหัวหน้าครัวเรือนที่อาศัยอยู่บ้านปางสวรรค์ทั้งหมด จำนวน 94 ครัวเรือน หรือผู้แทนครัวเรือนวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และค่าเฉลี่ย ผลการศึกษาพบว่า ราษฎรที่มีการใช้ประโยชน์จากป่าชุมชนบ้านปางสวรรค์ ส่วนใหญ่เป็น เพศชาย ร้อยละ 67.0 มีอายุเฉลี่ย 51.7 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 58.5 ประกอบอาชีพหลักเกษตรกรรม ร้อยละ 51.1 รายได้เฉลี่ย 139,825.70 บาทต่อปี มีรายจ่ายเฉลี่ย 103,881.80 บาทต่อปี ราษฎรมีหนี้สิน ร้อยละ 46.8 ของรายได้ และมีที่ดินเฉลี่ย 5.7 ไร่ มีการเก็บหาของป่ามาใช้ประโยชน์ทั้งสิ้น 10 ประเภท ได้แก่ ไม้ฟืน ไม้ไผ่ หน่อไม้ผลไม้ป่า พืชผักป่า เห็ด พืชกินหัว แมลงและผลผลิตจากแมลง สัตว์ขนาดเล็ก และสมุนไพร มีมูลค่าสุทธิทั้งหมด 632,653.50 บาทต่อปี หรือ 6,730.50 บาทต่อปีต่อครัวเรือน โดยเห็ดมีมูลค่าสุทธิสูงสุด 202,547.00 บาทต่อปี หรือ 2,154.80 บาทต่อปีต่อครัวเรือน ราษฎรร้อยละ 34.0 มีปัญหาและอุปสรรคในการเก็บหาของป่า ราษฎรมีการแปรรูปของป่า ร้อยละ 43.6 โดยแปรรูปเป็นถ่าน หน่อไม้ดอง และเห็ดโคนดองน้ำปลา มีมูลค่า 12,424.80, 86,170.00 และ 40,000.00 บาทต่อปี ตามลำดับ สำหรับใช้ในครัวเรือน และเพื่อจัดจำหน่าย ดังนั้นหน่วยงานของรัฐควรส่งเสริมการแปรรูปของป่าเพิ่มขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ในครัวเรือน และเพื่อเป็นรายได้เสริมให้กับครัวเรือน

  • This study aimed to examine the socio–economic utilization value of non–timber forest products and their processing into commodities for the people living in the Ban Pang Sawan Community, Khok Kwai sub–district, Ban Rai district, Uthai Thani province. Data was obtained by interviewing 94 household heads or representatives and were evaluated using statistical analysis which included frequency, percentage, minimum, maximum, and mean. The results indicated that most of the people utilizing the non–timber forest products in Ban Pang Sawan community were male (67.0 percent), with an average age about 51.7 years, among which 58.5 percent had elementary school education. The main occupation was agriculture, (51.1 percent), with an average household income of 139,825.70 Baht/year and an average expenditure of around 103,881.80 Baht/year. The average land holding was 5.7 rai, with 46.8 percent of the individuals having some debt. In total, 10 types of non–timber forest products used were firewood, bamboo, bamboo shoots, wild fruits, wild vegetables, mushrooms, tuber crops, insects, and insect products, small animals and medicinal plants with an estimated total net value of 632,653.50 Baht/year or 6,730.50 Baht/year/household. Mushroom collection had a net value of 202,547.00 Baht/year or 2,154.80 Baht/year/household. Among the surveyed individuals, 34 percent faced some issues in gathering non–timber forest products. Within the individuals, 43.6 percent of them did non–timber forest products processing which included charcoal, pickled bamboo shoots and pickled mushrooms with fish sauce, and were valued at 12,424.80, 86,170.00, and 40,000.00 Baht/year, respectively. These processed goods were used in the household, for sale, and for additional income generation in the household. Therefore, government agency units should promote the processing of non–timber forest products for household utilization as a source of additional household income.

  • [1] ปุณยวัจน์ มีสมคิด (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะวนศาสตร์)
    [2] สันติ สุขสอาด (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะวนศาสตร์)
    [3] อภิชาต ภัทรธรรม (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะวนศาสตร์)

  • [1] Punyawat Meesomkid (Kasetsart University, Bangkok (Thailand). Faculty of Forestry)
    [2] Santi Suksard (Kasetsart University, Bangkok (Thailand). Faculty of Forestry)
    [3] Apichart Pattaratuma (Kasetsart University, Bangkok (Thailand). Faculty of Forestry)

8 23
  
 

  Export

  ค้นเพิ่มเติม

ปุณยวัจน์ มีสมคิด. (2566). มูลค่าการใช้ประโยชน์ของป่าในป่าชุมชนบ้านปางสวรรค์ ตำบลคอกควาย อำเภอบ้านไร่
           จังหวัดอุทัยธานี
.  วารสารวนศาสตร์ไทย, 42 (2) ,90-98


ปุณยวัจน์ มีสมคิด. "มูลค่าการใช้ประโยชน์ของป่าในป่าชุมชนบ้านปางสวรรค์ ตำบลคอกควาย อำเภอบ้านไร่
           จังหวัดอุทัยธานี" วารสารวนศาสตร์ไทย, 42, 2566, 90-98.

ปุณยวัจน์ มีสมคิด. (2566). มูลค่าการใช้ประโยชน์ของป่าในป่าชุมชนบ้านปางสวรรค์ ตำบลคอกควาย อำเภอบ้านไร่
           จังหวัดอุทัยธานี
.  วารสารวนศาสตร์ไทย, 42 (2) ,90-98