• ความรู้ความเข้าใจและทัศนคติของประชาชนในจังหวัดแพร่ที่มีต่อโครงการสร้างป่าสร้างรายได้ ตามแนวพระราชดำริฯ

  • Cognition and attitude of people towards the income generated from forestation under the Royal Project in Phrae province

  • วารสารวนศาสตร์ไทย

  • Thai Journal of Forestry

  • ก.ค.-ธ.ค. 2565

  • 2730-2180

  • 2565

  • อรประภัสร์ สร้อยเสนา
    ต่อลาภ คำโย
    ปัญจพร คำโย
    อิสรีย์ ฮาวปินใจ

  • ปีที่ 41 ฉบับที่ 2 หน้า 27-38

  • https://li01.tci-thaijo.org/index.php/tjf/index

  • 10.14456/tjf.2022.3

  • ไทย

  • E14-เศรษฐศาสตร์การพัฒนา

  • E50-ชนบท

  • ชุมชน;พื้นที่ชนบท;การมีส่วนร่วม;การศึกษา;การเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร;พฤติกรรมมนุษย์;การเสริมสร้างขีดความสามารถ;โครงการพัฒนา;การส่งเสริมการเกษตร;การพัฒนาชุมชน;การพัฒนาอย่างยั่งยืน;ประเทศไทย

  • Communes;Rural areas;Participation;Education;Access to information;Human behaviour;Capacity building;Development projects;Agricultural extension;Community development;Sustainable development;Thailand

  • ประชาชน;ความรู้;ทัศนคติ;การรับรู้ข่าวสาร;การเข้าถึงข้อมูล;โครงการสร้างป่าสร้างรายได้;จ.แพร่

  • People;Cognition;Attitude;Data access;Phrae province

  • การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรู้ความเข้าใจและทัศนคติของประชาชนที่มีต่อโครงการสร้างป่าสร้างรายได้ ตามแนวพระราชดำริ ในจังหวัดแพร่ ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความรู้ความเข้าใจและทัศนคติของประชาชนที่มีต่อโครงการสร้างป่าสร้างรายได้ และศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะในการดำเนินโครงการ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณและแบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลการวิจัยกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 ครัวเรือน พื้นที่ 8 อำเภอ และวิเคราะห์ปัจจัยด้วยค่าสถิติ ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 46-55 ปี มีการศึกษาระดับประถมศึกษา ประกอบอาชีพทำไร่ ทำสวน มีรายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 10,000 บาท ประชาชนมีการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับโครงการอยู่ในระดับปานกลาง การวิเคราะห์ระดับความรู้ความเข้าใจและทัศนคติพบว่าประชาชนมีความรู้ความเข้าใจและทัศนคติอยู่ในระดับมาก ปัจจัยที่มีผลต่อระดับความรู้ความเข้าใจของประชาชน พบว่าปัจจัยด้านอาชีพหลัก (p LT 0.001) อาชีพรอง (p LT 0.05) ที่ต่างกันมีความรู้ความเข้าใจแตกต่างกันส่วนประชาชนที่มีเพศ อายุ สถานภาพ การศึกษา รายได้ต่อเดือน รายจ่ายต่อเดือน และการเข้าร่วมโครงการฯ ที่ต่างกัน มีความรู้ความเข้าใจไม่แตกต่างกัน และพบว่าการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับโครงการไม่มีความสัมพันธ์กับระดับความรู้ความเข้าใจ ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อระดับทัศนคติของประชาชน พบว่าปัจจัยด้านอาชีพหลัก (p LT 0.05) อาชีพรอง (p LT 0.001) รายได้ต่อเดือน (p LT 0.05) รายจ่ายต่อเดือน (p LT 0.001) การเข้าร่วมโครงการฯ (p LT 0.001) ที่ต่างกันมีทัศนคติแตกต่างกัน ส่วนประชาชนที่มีเพศ อายุ สถานภาพ การศึกษา ที่ต่างกัน มีทัศนคติไม่แตกต่างกัน และพบว่าการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับโครงการฯ มีความสัมพันธ์ระดับปานกลางกับระดับทัศนคติ(r=0.417) (p LT 0.001)นอกจากนี้การดำเนินโครงการมีปัญหาจากสภาวะความแห้งแล้งมากที่สุดและมีอุปสรรคสำคัญจากปัญหาภัยธรรมชาติ ดังนั้นประชาชนจึงมีความต้องการให้ภาครัฐส่งเสริมด้านแหล่งน้ำและด้านการตลาด

  • The objectives of this study were to 1) study levels of cognition and attitude of people towards the Income generated from forestation under the Royal Project in Phrae province, 2) to determine the factors influencing the people's cognition and attitude, and 3) study the problem, obstacles, and provide suggestions for a successful implementation of the project. Data in this quantitative research were collected by using the questionnaire survey method, under which 400 households in 8 districts were sampled. The obtained data were analyzed using statistics. The results indicated that most of the respondents were male, aged between 46-55 years, with a primary school level education. Most of the respondents were involved with farming and gardening, with an average income of less than 10,000 Baht per month. Perception about the project in the people's minds was at a moderate level. Moreover, it was found that their cognition and attitude toward the project was at a high level. The significant factors affecting the level of cognition, were different primary (p LT 0.001) and minor occupations (p LT 0.05). However, gender, age, status, education level, monthly income, monthly expenses, and participation in the project did not significantly affect their cognition. It was also found that their perception about the project did not correlate with level of cognition. Moreover, the significant factors affecting the levels of attitude towards the project were different primary occupations (p LT 0.05), minor occupations (p LT 0.001), monthly incomes (p LT 0.05), monthly expenses (p LT 0.001), and participation in the project (p LT 0.001). However, gender, age, status, and education level did not affect their attitude. It was also found that people's perception about the project was at a moderate level attitude (r=0.417) (p LT 0.001). In addition, the project implementation encountered the most problems under drought conditions and there were major obstacles from natural disasters. Therefore, people indicated to a need to promote water resources and marketing by the government.

  • [1] อรประภัสร์ สร้อยเสนา (มหาวิทยาลัยแม่โจ้ วิทยาเขตแพร่ เฉลิมพระเกียรติ สาขาวิชาการจัดการป่าไม้)
    [2] ต่อลาภ คำโย (มหาวิทยาลัยแม่โจ้ วิทยาเขตแพร่ เฉลิมพระเกียรติ สาขาวิชาเกษตรป่าไม้)
    [3] ปัญจพร คำโย (มหาวิทยาลัยแม่โจ้ วิทยาเขตแพร่ เฉลิมพระเกียรติ สาขาวิชารัฐศาสตร์)
    [4] อิสรีย์ ฮาวปินใจ (มหาวิทยาลัยแม่โจ้ วิทยาเขตแพร่ เฉลิมพระเกียรติ สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมป่าไม้)

  • [1] Oonpraphat Soisena (Maejo University. Phrae Campus, Phrae (Thailand). Major of Forest Management)
    [2] Torlarp Kamyo (Maejo University. Phrae Campus, Phrae (Thailand). Major of Agroforestry)
    [3] Punchaporn Kamyo (Maejo University. Phrae Campus, Phrae (Thailand). Major of Political Science)
    [4] Itsaree Howpinjai (Maejo University. Phrae Campus, Phrae (Thailand). Major of Forest Industry Technology)

91 226
  
 

  Export

  ค้นเพิ่มเติม

อรประภัสร์ สร้อยเสนา และคนอื่นๆ. (2565).
           ความรู้ความเข้าใจและทัศนคติของประชาชนในจังหวัดแพร่ที่มีต่อโครงการสร้างป่าสร้างรายได้
           ตามแนวพระราชดำริฯ
.  วารสารวนศาสตร์ไทย, 41 (2) ,27-38


อรประภัสร์ สร้อยเสนา และคนอื่นๆ.
           "ความรู้ความเข้าใจและทัศนคติของประชาชนในจังหวัดแพร่ที่มีต่อโครงการสร้างป่าสร้างรายได้
           ตามแนวพระราชดำริฯ" วารสารวนศาสตร์ไทย, 41, 2565, 27-38.

อรประภัสร์ สร้อยเสนา และคนอื่นๆ. (2565).
           ความรู้ความเข้าใจและทัศนคติของประชาชนในจังหวัดแพร่ที่มีต่อโครงการสร้างป่าสร้างรายได้
           ตามแนวพระราชดำริฯ
.  วารสารวนศาสตร์ไทย, 41 (2) ,27-38