• การประเมินต้นนางพญาเสือโคร่งในพื้นที่ภูลมโล อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า จังหวัดพิษณุโลก

  • Assessment of Prunus cerasoides D. Don trees in Phu Lom Lo area, Phu Hin Rong Kla National Park, Phitsanulok province

  • วารสารวนศาสตร์ไทย

  • Thai Journal of Forestry

  • ม.ค.-มิ.ย. 2565

  • 2730-2180

  • 2565

  • อดิศร ขันวิชัย
    ฑีฆา โยธาภักดี
    มณฑล นอแสงศรี
    ต่อลาภ คำโย

  • ปีที่ 41 ฉบับที่ 1 หน้า 102-115

  • https://li01.tci-thaijo.org/index.php/tjf/index

  • ไทย

  • K01-วนศาสตร์

  • K70-การทำลายป่า

  • P01-การอนุรักษ์ธรรมชาติ/ที่ดิน

  • Prunus;การจัดการป่าไม้;การประเมินความเสี่ยง;การจัดการความเสี่ยง;การอนุรักษ์ป่าไม้;การฟื้นฟูป่าไม้

  • Prunus;Forest management;Risk assessment;Risk management;Forest reserves;Forest rehabilitation

  • นางพญาเสือโคร่ง;การโค่นล้ม;การยืนต้นตาย;การประเมินสภาพต้นไม้;พื้นที่ภูลมโล;อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า;จ.พิษณุโลก

  • Prunus cerasoides;Toppling;Perennial death;Tree Assessments;Phu Lom Lo area;Phu Hin Rong Kla national park;Phitsanulok province

  • การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและประเมินสภาพต้นนางพญาเสือโคร่งในพื้นที่ภูลมโล อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า จังหวัดพิษณุโลก โดยประเมินสภาพปัญหาจะส่งผลกระทบต่อการโค่นล้ม การยืนต้นตายของต้นนางพญาเสือโคร่ง และจัดทำฐานข้อมูลพื้นฐานของต้นนางพญาเสือโคร่ง เพื่อให้หน่วยงานที่รับผิดชอบใช้ในการวางแผน จัดการดูแลรักษาต่อไป จากการศึกษา ได้เลือกใช้วิธีการประเมินสภาพต้นไม้ใหญ่ (Tree Assessments) มาทำการประเมินสภาพต้นนางพญาเสือโคร่งในพื้นที่ภูลมโล ทำการเก็บข้อมูลโดยการประยุกต์และดัดแปลงแบบฟอร์มการเก็บข้อมูลภาคสนามตามสภาพปัญหาที่เจอตามส่วนต่าง ๆ ของต้นนางพญาเสือโคร่ง และนำมาประเมินความเสี่ยงที่จะส่งผลกระทบต่อความเสียหายหากมีการโค่นล้ม หรือยืนต้นตายของต้นนางพญาเสือโคร่งในพื้นที่ภูลมโล ตามวิธีประเมินความเสี่ยงต้นไม้ขั้นพื้นฐาน ISA (International Society Arborist) Basic Tree Assessment 2017 ผลจากการสำรวจต้นนางพญาเสือโคร่งทั้งหมดที่ขึ้นอยู่ ในพื้นที่ ภูลมโล พบว่ามีจำนวนทั้งหมด 19,356 ต้น พบต้นที่มีสภาพปัญหาตามลำต้นและกิ่ง 398 ต้น คิดเป็น 2.06 เปอร์เซ็นต์ นำมาทำการประเมินตามเกณฑ์ ตามสภาพปัญหาของลำต้น พบต้นนางพญาเสือโคร่งที่มีความเสี่ยงขั้นร้ายแรง 6 ต้น (1.51 เปอร์เซ็นต์) ความเสี่ยงสูง 63 ต้น (15.83 เปอร์เซ็นต์) ความเสี่ยงปานกลาง 137 ต้น (34.42 เปอร์เซ็นต์) ความเสี่ยงต่ำ 192 ต้น (48.24 เปอร์เซ็นต์) ตามสภาพปัญหาของกิ่ง ไม่พบต้นนางพญาเสือโคร่งที่มีความเสี่ยงขั้นร้ายแรงและความเสี่ยงสูง พบแต่ต้นนางพญาเสือโคร่งที่มีความเสี่ยงปานกลาง 3 ต้น (18.75 เปอร์เซ็นต์) และมีความเสี่ยงต่ำ 13 ต้น (81.25 เปอร์เซ็นต์) ทั้งนี้ สภาพปัญหาที่พบ คือ ลำต้นเปลือกแหว่งหาย มีรอยปูดบวม ลำต้นเป็นโพรง กาฝาก ผุ โค้งงอเอนล้ม ซึ่งมีโอกาส จะสร้างความเสียหายต่อการท่องเที่ยวในอนาคต จึงควรมีการวางแผนการดูแลรักษาอย่างเหมาะสม และทันท่วงทีโดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง

  • This research aimed to survey and assessed the Prunus cerasoides D. Don trees growing in Phu Lom Lo, Phu Hin Rong Kla National Park, Phitsanulok province. The endeavor was to establish a basic database of trees to be used by the respective department during planning of maintenance activities of trees. According to the study, tree assessment methods were chosen to assess conditions of P. cerasoides in Phu Lom Lo. Data field were collected by applying and modifying from problematic conditions in different parts of trees and to assess the risk that will affect the damage if P. cerasoides fell or death by using ISA (International Society Arborist) basic tree assessment criteria. The survey results show that the number of Prunus cerasoides D. Don trees in the area were 19,365, with 398 trees having issues with their trunk and branches, as assessed according to the criteria. The trunk assessment showed that 6 trees were at extreme risk (1.51 percent), 63 trees at high risk (15.83 percent), 137 trees at medium risk (34.42 percent), and 192 trees were at low risk (48.24 percent). The branch assessment found no trees at extreme or high risk, but there were 3 trees at medium risk (18.75 percent) and 13 trees at low risk (81.25 percent). The main problem afflicting the trees at risk were missing bark, cankers/galls, cavity, prolific ivy, decay, leaning in the trunk, which was likely to cause future damage. Therefore, there should be an urgent management plan in extreme risk first with consult the professional or arborist

  • [1] อดิศร ขันวิชัย (มหาวิทยาลัยแม่โจ้ วิทยาเขตแพร่ เฉลิมพระเกียรติ สาขาการจัดการป่าไม้)
    [2] ฑีฆา โยธาภักดี (มหาวิทยาลัยแม่โจ้ วิทยาเขตแพร่ เฉลิมพระเกียรติ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ประยุกต์เพื่อการพัฒนาชุมชน)
    [3] มณฑล นอแสงศรี (มหาวิทยาลัยแม่โจ้ วิทยาเขตแพร่ เฉลิมพระเกียรติ สาขาวิชาชีววิทยาประยุกต์)
    [4] ต่อลาภ คำโย (มหาวิทยาลัยแม่โจ้ วิทยาเขตแพร่ เฉลิมพระเกียรติ สาขาวิชาเกษตรป่าไม้)

  • [1] Adisorn Khunwichai (Maejo University. Phrae Campus, Phrae (Thailand). Department Forest Management)
    [2] Teeka Yotapukdee (Maejo University. Phrae Campus, Phrae (Thailand). Department Applied Economics for Community Development)
    [3] Monton Norsangsri (Maejo University. Phrae Campus, Phrae (Thailand). Department of Applied Biology)
    [4] Torlarp Kamyo (Maejo University. Phrae Campus, Phrae (Thailand). Department of Agroforestry)

29 147
  
 

  Export

  ค้นเพิ่มเติม

อดิศร ขันวิชัย และคนอื่นๆ. (2565). การประเมินต้นนางพญาเสือโคร่งในพื้นที่ภูลมโล อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า
           จังหวัดพิษณุโลก
.  วารสารวนศาสตร์ไทย, 41 (1) ,102-115


อดิศร ขันวิชัย และคนอื่นๆ. "การประเมินต้นนางพญาเสือโคร่งในพื้นที่ภูลมโล อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า
           จังหวัดพิษณุโลก" วารสารวนศาสตร์ไทย, 41, 2565, 102-115.

อดิศร ขันวิชัย และคนอื่นๆ. (2565). การประเมินต้นนางพญาเสือโคร่งในพื้นที่ภูลมโล อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า
           จังหวัดพิษณุโลก
.  วารสารวนศาสตร์ไทย, 41 (1) ,102-115