• ปีที่ 41 ฉบับที่ 1 หน้า 13-21

  • https://li01.tci-thaijo.org/index.php/tjf/index

  • ไทย

  • N20-เกษตรกลวิธาน

  • K10-วิทยาการป่าไม้

  • Eucalyptus camaldulensis;การตัดไม้;การล้มไม้;การทำไม้;การดำเนินการป่าไม้;การปฏิบัติงาน;เลื่อย;เครื่องมือในการทำป่าไม้;สมรรถนะเครื่องมือ;การทดสอบเครื่องมือ;คุณลักษณะของเครื่องมือ;เสียงรบกวน;เสียง;การสั่น;ความปลอดภัยในการทำงาน

  • Eucalyptus camaldulensis;Felling;Slashing;Logging;Forestry operations;Job performance;Saws;Forestry equipment;Equipment performance;Equipment testing;Equipment characteristics;Noise;Sound;Vibration;Safety at work

  • ไม้ยูคาลิปตัส;เลื่อยยนต์;น้ำมันเชื้อเพลิง;แบตเตอรี่;การตัดไม้;ความเร็ว;ระดับเสียง;แรงสั่นสะเทือน;ประสิทธิภาพการทำงาน

  • Eucalyptus;Gasoline chainsaws;Battery chainsaw;Cutting speed;Sound level

  • งานวิจัยนี้ศึกษาเกี่ยวกับการเปรียบเทียบการทำงานของเลื่อยยนต์น้ำมันเชื้อเพลิงและเลื่อยยนต์แบตเตอรี่ โดยเปรียบเทียบใน 3 ด้านดังนี้ 1) ความเร็วของเลื่อยยนต์ 2) ระดับเสียง และ 3) แรงสั่นสะเทือน ทำการทดสอบกับไม้ยูคาลิปตัสแห้งที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 13 ซม. ในการทดลอง 1 ซ้ำจะทอนไม้ทั้งหมด 10 แว่น และทำซ้ำทั้งหมด 3 ซ้ำ นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาความแตกต่างโดยวิธีการ Independent-Samples t-test ผลการศึกษาพบว่าเลื่อยยนต์แบตเตอรี่จะใช้เวลาเฉลี่ยต่อรอบของการตัดทอนไม้น้อยกว่าเลื่อยยนต์น้ำมันเชื้อเพลิงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.033) โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 11.57 และ 12.90 วินาที ตามลำดับ ส่วนระดับเสียงจากการปฏิบัติงานของเลื่อยยนต์แบตเตอรี่จะเบากว่าเลื่อยยนต์น้ำมันเชื้อเพลิงอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (p LT 0.001) โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 81.25 และ 94.65 dB(A) ตามลำดับ โดยระดับเสียงเฉลี่ยของเลื่อยยนต์แบตเตอรี่มีน้อยกว่าระดับเสียงเฉลี่ยของเลื่อยยนต์น้ำมันเชื้อเพลิงประมาณ 15 เปอร์เซ็นต์ ระดับแรงสั่นสะเทือนจากการปฏิบัติงานของเลื่อยยนต์แบตเตอรี่จะน้อยกว่าเลื่อยยนต์น้ำมันเชื้อเพลิงอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (p LT 0.001) โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.19 และ 1.30 ม./วินาทีกำลังสอง ตามลำดับ โดยเลื่อยยนต์แบตเตอรี่มีแรงสั่นสะเทือนที่น้อยกว่าเลื่อยยนต์น้ำมันเชื้อเพลิง ประมาณ 7 เท่า จากผลการศึกษาเห็นว่าเลื่อยยนต์แบตเตอรี่สามารถทำงานได้รวดเร็วกว่าและได้รับผลกระทบด้านระดับเสียงและแรงสั่นสะเทือนน้อยกว่าเลื่อยยนต์น้ำมันเชื้อเพลิง

  • This research compared the operational efficiency between gasoline and battery operated chainsaws under 3 different aspects: cutting speed, noise, and vibration levels. The test was performed on dried eucalyptus logs with a diameter of 13 cm. Each type of chainsaw was used on 3 randomly selected logs (replicates), and each log was cut into 10 slides (repetitions). The mean differences of each of the parameters between the types of chainsaws were tested using an Independent-samples T-test. The results showed that the average time per cycle of wood cutting for the battery operated chainsaws was significantly less than the gasoline chainsaws (p = 0.033), with a mean value of 11.57 and 12.90 seconds, respectively. The operating noise level of the battery chainsaw was significantly lower than that of the gasoline chainsaw (p LT 0.001), with a mean value of 81.25 and 94.65 dB(A), respectively. The mean noise level of the battery chainsaw was 15 percent less than the gasoline chainsaw. The operating vibration level of the battery chainsaw was statistically significant and less than that of the gasoline chainsaw (p LT 0.001), with a mean value of 0.19 and 1.30 m/s sup(2), respectively. The vibration while operating a battery chainsaw was 7 times less than a gasoline chainsaw. According to the current research, we conclude that battery chainsaws can run faster and are less affected by noise and vibration than gasoline chainsaws

  • [1] ศุภมาส คำเวียงสา (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะวนศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมป่าไม้)
    [2] นพรัตน์ คัคคุริวาระ (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะวนศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมป่าไม้)
    [3] เกียรติศักดิ์ บุญเดช (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะวนศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมป่าไม้)

  • [1] Supamas Khamwiangsa (Kasetsart University, Bangkok (Thailand). Faculty of Forestry. Department of Forest Engineering)
    [2] Nopparat Kaakkurivaara (Kasetsart University, Bangkok (Thailand). Faculty of Forestry. Department of Forest Engineering)
    [3] Kiattisak Bundet (Kasetsart University, Bangkok (Thailand). Faculty of Forestry. Department of Forest Engineering)

110 141
  
 

  Export

  ค้นเพิ่มเติม

ศุภมาส คำเวียงสา. (2565). ประสิทธิภาพการทำงานของเลื่อยยนต์น้ำมันเชื้อเพลิงและเลื่อยยนต์แบตเตอรี่
           วารสารวนศาสตร์ไทย, 41 (1) ,13-21


ศุภมาส คำเวียงสา. "ประสิทธิภาพการทำงานของเลื่อยยนต์น้ำมันเชื้อเพลิงและเลื่อยยนต์แบตเตอรี่"
           วารสารวนศาสตร์ไทย, 41, 2565, 13-21.

ศุภมาส คำเวียงสา. (2565). ประสิทธิภาพการทำงานของเลื่อยยนต์น้ำมันเชื้อเพลิงและเลื่อยยนต์แบตเตอรี่
           วารสารวนศาสตร์ไทย, 41 (1) ,13-21