• ปีที่ 39 ฉบับที่ 2 หน้า 12-26

  • https://li01.tci-thaijo.org/index.php/tjf/index

  • ไทย

  • F40-นิเวศวิทยาพืช

  • P40-อุตุนิยมวิทยา

  • ไลเคน;ระบบนิเวศ;นิเวศวิทยาของป่าไม้;ความหลากหลายทางชีวภาพ;ความผันแปรทางฤดูกาล;ปัจจัยสิ่งแวดล้อม;ภูมิอากาศ;อุณหภูมิอากาศ;น้ำฟ้า;ลม;ความเร็ว;ความชื้นสัมพัทธ์;การอนุรักษ์ธรรมชาติ;การอนุรักษ์ทรัพยากร;อุทยานแห่งชาติ;ประเทศไทย

  • Lichenes;Ecosystems;Forest ecology;Biodiversity;Seasonal variation;Environmental factors;Climate;Air temperature;Precipitation;Winds;Velocity;Relative humidity;Nature conservation;Resource conservation;National parks;Thailand

  • แมโครไลเคน;โฟลิโอส;มวลชีวภาพ;ความเร็วลม;ปริมาณน้ำฝน;ความชื้นในบรรยากาศ;ความแปรผันตามฤดูกาล;ป่าทุติยภูมิ;อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

  • Bulbothrix tabacina;Parmotrema tinctorum;Parmotrema praesorediosum;Parmotrema sancti-angelii;Dirinaria picta;Macrolichen;Foliose;Natural habitats;Natural ecosystem;Biomass;Air temperature;Wind speed;Rainfall;Air humidity;Secondary forest;Khao Yai National Park

  • การศึกษาการร่วงหล่นของแมโครไลเคนสามารถช่วยประเมินปริมาณการสูญเสียของไลเคนในระบบนิเวศตามธรรมชาติได้ ดังนั้น การศึกษาในครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินปริมาณการร่วงหล่นของแมโครไลเคน พร้อมวิเคราะห์ปัจจัยภูมิอากาศที่มีผลต่อการร่วงหล่นของไลเคนในระบบนิเวศป่าทุติยภูมิในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ โดยทำการวางแปลงสำรวจรูปวงกลมขนาดรัศมี 2 เมตร จำนวน 75 แปลง สำรวจและเก็บข้อมูล 4 ครั้ง ในรอบปี ได้แก่ ฤดูร้อน (เดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนเมษายน) ต้นฤดูฝน (เดือนพฤษภาคมถึงเดือนกรกฎาคม) ปลายฤดูฝน (เดือนสิงหาคมถึงเดือนตุลาคม) และฤดูแล้ง (เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคม) ระหว่างเดือนกรกฎาคม 2561 ถึงเดือนตุลาคม 2562 ผลจากการสำรวจพบแมโครไลเคนที่ร่วงหล่น 15 ชนิด 8 สกุล 3 วงศ์ ชนิดที่พบความถี่ของการปรากฏในแปลงสำรวจสูง ได้แก่ Bulbothrix tabacina, Parmotrema tinctorum, P. praesorediosum, P. sancti-angelii และ Dirinaria picta โดยปริมาณการร่วงหล่นของแมโครไลเคนเฉลี่ยรอบปีมีค่าเท่ากับ 338 กรัมต่อเฮกตาร์ต่อปี พบการร่วงหล่นสูงสุดในฤดูร้อน รองลงมาคือ ต้นฤดูฝน ปลายฤดูฝน และฤดูแล้ง ตามลำดับ โดยการร่วงหล่นของแมโครไลเคนมีความสัมพันธ์กับอุณหภูมิอากาศและความเร็วลมมากกว่าปริมาณน้ำฝน และความชื้นในบรรยากาศ การศึกษาในครั้งนี้บ่งชี้ว่า แมโครไลเคนที่ร่วงหล่นในธรรมชาติมีความแปรผันตามฤดูกาลและพื้นที่ศึกษา ซึ่งสามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการจัดการและใช้ประโยชน์ของแมโครไลเคนในแหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ

  • The study and estimation of macrolichen litterfall can be used to estimate the loss of lichens in natural ecosystems. Thus, this study aimed to assess the amount of macrolichen litterfall and to analyze the environmental factors that could influence the variability of litterfall in a secondary forest at Khao Yai national park. A total of 75 circular plots of 2-m radius were constructed in the study area. Macrolichen litterfall was collected 4 times a year, including the hot season (February to April), early rainy season (May to July), late rainy season (August to October), and the dry season (November to January), between July 2018 and October 2019. We observed 15 species, 8 genera, and 3 families in the macrolichen litterfalls. Species found at a relatively higher frequency were Bulbothrix tabacina, Parmotrema tinctorum, P. praesorediosum, P. sancti-angelii, and Dirinaria picta. The average amount of lichen litterfalls was estimated at 338 g/ha/yr. Most of the litterfall was collected during the hot season, followed by the early rainy season, the late rainy season, and the dry season, respectively. The amount of litterfall was influenced more by the air temperature and wind speed than rainfall and air humidity. This study indicates that the amount of macrolichen litterfall varies with seasons and study location. This information can be important for the management and utilization of macrolichens growing in natural habitats

  • [1] พิทักษ์ชัย เฟืองแก้ว (มหาวิทยาลัยรามคำแหง คณะวิทยาศาสตร์)
    [2] เวชศาสตร์ พลเยี่ยม (มหาวิทยาลัยรามคำแหง คณะวิทยาศาสตร์)
    [3] ชัยวัฒน์ บุญเพ็ง (มหาวิทยาลัยรามคำแหง คณะวิทยาศาสตร์)
    [4] กัณฑรีย์ บุญประกอบ (มหาวิทยาลัยรามคำแหง คณะวิทยาศาสตร์)

  • [1] Pitakchai Fuangkeaw (Ramkhamhaeng University, Bangkok (Thailand). Faculty of Science)
    [2] Wetchasart Polyiam (Ramkhamhaeng University, Bangkok (Thailand). Faculty of Science)
    [3] Chaiwat Boonpeng (Ramkhamhaeng University, Bangkok (Thailand). Faculty of Science)
    [4] Kansri Boonpragob (Ramkhamhaeng University, Bangkok (Thailand). Faculty of Science)

28 58
  
 

  Export

  ค้นเพิ่มเติม

พิทักษ์ชัย เฟืองแก้ว และคนอื่นๆ. (2563). การแปรผันตามฤดูกาลของปริมาณแมโครไลเคนที่ร่วงหล่นในป่าทุติยภูมิ ณ
           อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
.  วารสารวนศาสตร์ไทย, 39 (2) ,12-26


พิทักษ์ชัย เฟืองแก้ว และคนอื่นๆ. "การแปรผันตามฤดูกาลของปริมาณแมโครไลเคนที่ร่วงหล่นในป่าทุติยภูมิ ณ
           อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่" วารสารวนศาสตร์ไทย, 39, 2563, 12-26.

พิทักษ์ชัย เฟืองแก้ว และคนอื่นๆ. (2563). การแปรผันตามฤดูกาลของปริมาณแมโครไลเคนที่ร่วงหล่นในป่าทุติยภูมิ ณ
           อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
.  วารสารวนศาสตร์ไทย, 39 (2) ,12-26