• การชักนำยอดและรากของต้นนนทรีในสภาพปลอดเชื้อ

  • Shoot and root induction of Peltophorum pterocarpum (DC.) Back.ex Heyne in In vitro culture

  • วารสารวนศาสตร์ไทย

  • Thai Journal of Forestry

  • ก.ค.-ธ.ค. 2563

  • 2730-2180

  • 2563

  • ไพลิน สุระโคตร
    พฤทธิ์ ราชรักษ์

  • ปีที่ 39 ฉบับที่ 2 หน้า 1-11

  • https://li01.tci-thaijo.org/index.php/tjf/index

  • ไทย

  • F02-การขยายพันธุ์พืช

  • F62-การเจริญเติบโตของพืช

  • Caesalpinioideae;Leguminosae;พืชปลอดเชื้อ;การขยายพันธุ์พืช;การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ;การเพาะเลี้ยงในสภาพห้องปฏิบัติการ;เทคนิคการเพาะเลี้ยง;อาหารเพาะเลี้ยง;ไซโตคินิน;ออกซิน;เอ็นเอเอ;ไอบีเอ;สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช;การเกิดราก;อัตราการเติบโต

  • Caesalpinioideae;Leguminosae;Vitroplants;Plant propagation;Tissue culture;In vitro culture;Culture techniques;Culture media;Cytokinins;Auxins;Naa;IBA;Plant growth substances;Rooting;Growth rate

  • นนทรี;การเพาะเลี้ยงแคลลัส;สูตรอาหาร;ไซโทไคนิน;กรดแนพทาลีนอะซีติค;กรดอินโดลบิวทีริค;การชักนำยอด;การชักนำราก

  • Peltophorum pterocarpum;Callus culture;Axillary buds;Naphthaleneacetic acid;Indolebutyric acid;Shoot induction;Root induction

  • นนทรีเป็นไม้ต้นที่ทรงคุณค่าและมีประโยชน์มากมายหลากหลายด้าน การขยายพันธุ์ในสภาพปลอดเชื้อด้วยการใช้ตาข้างจากต้นแม่ไม้ที่มีอายุหลายปีเป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยคัดเลือกต้นลักษณะดีได้โดยตรง การเตรียมตัวอย่างปลอดเชื้อด้วยสารละลายคลอรอกซ์ความเข้มข้นร้อยละ 20 ระยะเวลาการฟอก 20 นาที ได้ผลร้อยละความปลอดเชื้อสูงที่สุด ถึงแม้ว่าผิวชิ้นตัวอย่างอาจจะแห้งแต่สามารถฟื้นตัวได้ดีภายหลังการเลี้ยง 14-28 วัน การชักนำยอดด้วยสูตรอาหาร MS ร่วมกับสารควบคุมการเติบโตกลุ่มไซโทไคนินสองชนิด (Kn และ BAP) ให้ผลดีกว่าการใช้ร่วมกับสารควบคุมการเติบโตกลุ่มออกซิน (NAA) หรือใช้เพียงสารใดสารหนึ่งเพียงชนิดเดียว ผลการชักนำยอด พบว่า สามารถชักนำยอดเฉลี่ยได้สูงสุด 3.2+-0.04 ยอดต่อชิ้นตัวอย่าง เมื่อใช้สูตรอาหาร MS ร่วมกับสารควบคุมการเติบโต 0.1 พีพีเอ็ม (ppm) Kn และ 0.5 ppm BAP และพบว่า สูตรอาหารชักนำยอดส่งผลต่อการเกิดแคลลัสไม่พึงประสงค์ซึ่งเป็นสาเหตุให้ชิ้นตัวอย่างตอบสนองต่อสูตรอาหารต่ำและตาย ซึ่งสามารถพบแคลลัสนี้ได้ในทุกสูตรอาหารชักนำยอดแต่พบในปริมาณที่น้อยแตกต่างกัน ส่วนความยาวยอดเฉลี่ยมีความยาวใกล้เคียงกันในทุกสูตรอาหาร การชักนำรากจากยอดที่ได้จากการชักนำ พบว่า ชิ้นตัวอย่างตอบสนองต่อสูตรอาหารค่อนข้างต่ำและพบรากจำนวนน้อย โดยพบจำนวนรากเฉลี่ย 2.0+-0.01 รากต่อชิ้นตัวอย่างเมื่อชักนำด้วยสูตรอาหาร MS ร่วมกับสารควบคุมการเติบโต 2.0 ppm IBA แต่อย่างไรก็ตาม รากที่ชักนำได้มีขนาดค่อนข้างใหญ่และแข็งแรงซึ่งเพียงพอต่อการปรับตัวเพื่อลงปลูก

  • Peltophorum pterocarpum (DC.) Back. ex Heyne is a valuable tree, which has been planted for a long time due to the multi-purpose nature of its use. In in vitro culture, the use of axillary buds derived from a high-quality seed stand, was the most efficient way to select a good tree. The surface disinfectant Clorox at a concentration of 20 percent, applied for 20 min, resulted in the best sterilization percentage, even though it caused surface wilting on the explant. Nevertheless, it was able to recover after a culture of 14-28 days. A shoot induction formula comprising of an MS medium combined with two types of cytokinins, Kn and BAP, gave excellent results compared to a combination of with cytokinins (Kn or BAP) and auxin (NAA). Moreover, the MS medium mixed with a single plant growth regulator, cytokinin or auxin, was unsuitable to use for shoot induction formula. The highest shoot proliferation average obtained was 3.2+-0.04 shoots per explant under an MS media mixed with 0.1 ppm Kn and 0.5 ppm BAP. Furthermore, these formulas caused unwanted callus, which resulted in a low explants response and death. These symptoms could be found in every shoot induction formula but were far fewer in number. Similar average shoot lengths were obtained through all the formulas. A root initiation with 2.0 ppm IBA resulted in an average number of root induction of 2.0+-0.01 roots per explants, which showed a low response and inappropriate results. However, it showed a robust and vigorous root characteristic, sufficient for acclimatization and growth

  • [1] ไพลิน สุระโคตร (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะวนศาสตร์)
    [2] พฤทธิ์ ราชรักษ์ (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะวนศาสตร์)

  • [1] Pailin Surakhotand (Kasetsart University, Bangkok (Thailand). Faculty of Forestry)
    [2] Phruet Racharak (Kasetsart University, Bangkok (Thailand). Faculty of Forestry)

16 109
  
 

  Export

  ค้นเพิ่มเติม

ไพลิน สุระโคตร และ พฤทธิ์ ราชรักษ์. (2563). การชักนำยอดและรากของต้นนนทรีในสภาพปลอดเชื้อ.  วารสารวนศาสตร์ไทย,
           39 (2) ,1-11


ไพลิน สุระโคตร และ พฤทธิ์ ราชรักษ์. "การชักนำยอดและรากของต้นนนทรีในสภาพปลอดเชื้อ" วารสารวนศาสตร์ไทย, 39, 2563, 1-11.

ไพลิน สุระโคตร และ พฤทธิ์ ราชรักษ์. (2563). การชักนำยอดและรากของต้นนนทรีในสภาพปลอดเชื้อ.  วารสารวนศาสตร์ไทย,
           39 (2) ,1-11