-
การลดความเสี่ยงของการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) จากฤทธิ์ต้านการอักเสบของสารพฤกษเคมีในเคพกูสเบอร์รี
-
Reducing the risk of noncommunicable diseases (NCDs) through anti-inflammatory activity of phytochemicals in cape gooseberry
-
วารสารวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร
-
Journal of Food Research and Product Development
-
ก.ค.-ธ.ค. 2566
-
2821-9813
-
2566
-
ปีที่ 53 ฉบับที่ 2 หน้า 19-28
-
https://kuojs.lib.ku.ac.th/index.php/JFRPD/article/view/5411
-
ไทย
-
F60-ชีวเคมีของพืช
-
เคพกูสเบอร์รี;กู๊สเบอรี;กระดิ่งทอง;สารพฤกษเคมี;สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ;สารประกอบฟีนอลิก;สารฟลาโวนอยด์;โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง;การอักเสบเรื้อรัง
-
Cape gooseberry;Physalis peruviana;Solanaceae;Phytochemicals;Phytochemistry;Phenolic compounds;Flavonoids;Noncommunicable diseases;NCDs;Chronic inflammation;Anti-inflammatory
-
ความรุนแรงของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด มะเร็ง โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจและระบบสมอง เป็นต้น อันเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตของประชากรไทยและประชากรโลก โดยภาวะอักเสบเรื้อรังในระดับเซลล์ การสร้างสารตัวกลางจำนวนมาก และการทำงานของภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติ ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้อาการของโรคในกลุ่มนี้มีความรุนแรงขึ้น การใช้ประโยชน์เชิงสุขภาพจากพืชชนิดต่าง ๆ เป็นแนวทางที่ได้รับความสนใจ ทั้งในแง่การค้นหาสารพฤกษเคมีชนิดใหม่ หรือใช้พืชชนิดต่าง ๆ เป็นแหล่งของสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ ในส่วนของเคพกูสเบอร์รีนั้น ถือเป็นไม้ผลที่ได้รับการคัดเลือกและพัฒนาสายพันธุ์ให้มีความเหมาะสมในการเพาะปลูกในประเทศไทยมายาวนานกว่า 40 ปี และยังเป็นแหล่งของสารพฤกษเคมีหลายชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งสารประกอบฟีนอลิกและฟลาโวนอยด์ที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบและส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันที่ดี จึงสามารถใช้ประโยชน์จากเคพกูสเบอร์รีในการลดระดับการอักเสบและจำกัดการอักเสบให้อยู่ในภาวะที่เหมาะสม ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังจากจุดเริ่มต้น และยังลดความรุนแรงของโรคได้อีกด้วย
-
Noncommunicable diseases (NCDs) caused by heart disease, cancer, chronic respiratory, and neurological disease was identified as the leading causes of deaths worldwide as well as in Thailand. The progression of NCDs is mostly directed toward chronic inflammation, the overproduction of inflammatory mediators, and immunodeficiency. The utilization of phytochemicals from plants becomes a great opportunity for health prevention. Various plants can be used as sources of new bioactive compounds. Cape gooseberry has been grown in Thailand for 40 years with the improvement of varieties. Phenolic compounds and flavonoids, which are mainly phytochemicals in cape gooseberry, exhibit strong anti-inflammatory and immune system enhancement properties. Cape gooseberry shows the advantage of suppressing inflammation, which can reduce the risk of NCDs and their severity.
-
[1] นราพร พรหมไกรวร (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร ฝ่ายเคมีและกายภาพอาหาร)
-
[1] Naraporn Phomkaivon (Kasetsart University, Bangkok (Thailand). Institute of Food Research and Product Development. Department of Food Chemical and Physical)
ค้นเพิ่มเติม
นราพร พรหมไกรวร. (2566). การลดความเสี่ยงของการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs)
จากฤทธิ์ต้านการอักเสบของสารพฤกษเคมีในเคพกูสเบอร์รี.  วารสารวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร, 53 (2) ,19-28
นราพร พรหมไกรวร. "การลดความเสี่ยงของการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs)
จากฤทธิ์ต้านการอักเสบของสารพฤกษเคมีในเคพกูสเบอร์รี" วารสารวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร, 53, 2566, 19-28.
นราพร พรหมไกรวร. (2566). การลดความเสี่ยงของการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs)
จากฤทธิ์ต้านการอักเสบของสารพฤกษเคมีในเคพกูสเบอร์รี.  วารสารวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร, 53 (2) ,19-28